การโอนลอยคืออะไร ทำอย่างไรไม่เสี่ยงติดคุก?

transfer of motor vehicle cover 1200-800

 

การโอนลอย ได้รับความนิยม โดยเฉพาะกับการทำธุรกรรมซื้อขายรถมือสอง ซึ่งช่วยลดขั้นตอน ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่ต้องเสียเวลาไปดำเนินการที่สำนักงานขนส่งฯ รวมทั้งผู้ขายเองก็ได้รับเงินจากผู้ซื้อได้ทันที แต่ถึงจะสะดวกและรวดเร็วแค่ไหน หากทำอย่างไม่รอบคอบ ก็อาจทำให้ผู้ขายกลายเป็นผู้ต้องสงสัยหรือมีความผิดเสี่ยงติดคุกโดยไม่ตั้งตัว วันนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจและวิธีจัดการอย่างปลอดภัย

การโอนลอยคืออะไร?

นิยามความหมายของการโอนลอย โดยกรมการขนส่งทางบก คือการที่เจ้าของรถได้ขายรถของตนแล้ว และทำการลงนามในเอกสารการโอนรถ และใบมอบอำนาจให้แก่ผู้ซื้อ โดยไม่ได้ดำเนินการทางทะเบียนที่สำนักงานขนส่งฯ

การโอนลอยทำอย่างไร?

การโอนลอยนิยมใช้ในการทำธุรกรรมซื้อ-ขายรถมือสอง และส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อขายกับเต็นท์รถ ซึ่งเมื่อมีการจัดทำเอกสารการโอนลอยรถเรียบร้อยแล้ว ผู้ขายรถจะได้รับเงินทันที โดยไม่ต้องไปดำเนินการโอนที่สำนักงานขนส่งฯ และผู้ซื้อจะยังไม่ได้เซ็นเอกสารรับมอบในทันที ทำให้กรรมสิทธิ์ในรถยังเป็นของผู้ขาย แต่ไม่ได้มีรถอยู่กับตัวเองและไม่ได้ใช้รถแล้ว สรุปขั้นตอนดังนี้ คือ

• ผู้ขายเซ็นเอกสารทิ้งไว้ให้เต็นท์รถ แล้วรับเงินตามราคาที่ตกลงขาย

• เต็นท์รถรับรถไปและรอผู้ซื้อมาซื้อ

• เมื่อได้ผู้ซื้อแล้วเต็นท์รถจะนัดโอนเสมือนการโอนจากผู้ขายไปหาผู้ซื้อ จึงเป็นการโอนทอดเดียว โดยไม่มีชื่อเต็นท์รถอยู่ในเล่มทะเบียน ผู้ซื้อก็จะมีชื่อเป็นลำดับที่ 2 ในเล่ม

จากขั้นตอนการโอนลอยจะเห็นว่าต้องอาศัยความเชื่อใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายว่าจะไปดำเนินการตามที่ตกลง และการโอนลอยนั้นจะยังไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ต่อเมื่อจะไปดำเนินการโอนที่กรมขนส่งฯ

ปัญหาจากการโอนลอยที่ผู้ขายควรรู้

รถที่ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย หากเกิดปัญหาหรือมีผู้นำไปกระทำความผิด ผู้ขายจะต้องรับทราบปัญหา และต้องรับผิดชอบความเสียหายต่างๆ เพราะในทางกฎหมายถือว่ายังเป็นเจ้าของรถอยู่ หากไม่สามารถจับตัวผู้กระทำผิดจริงได้ก็ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อในทะเบียนรถเป็นผู้นำรถไปกระทำความผิด โดยปัญหาจากการโอนลอยที่ผู้ขายควรรู้ คือ

• การถูกใบสั่งจราจร

• มีคดีที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุบนท้องถนน

• การนำรถไปก่ออาชญากรรม

• การนำรถไปขายต่อแบบผิดกฎหมาย

ดังนั้นการโอนลอยอย่างปลอดภัย เอกสารการซื้อขายควรมี 2 ฉบับ แบ่งให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเก็บไว้ฝ่ายละ 1 ชุด และควรขอสำเนาบัตรประชาชนของผู้ซื้อเอาไว้ด้วย เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันว่าขายรถไปแล้ว หากเกิดคดีความก่อนที่จะมีการโอนรถอย่างถูกต้อง

tag

Categories

Activity Business Lifestyle Dharmniti news DHG family Enterpreneur Corner ESG Family CSR Family ดูงาน highlight2 highlight3 Highlight content Home Highlight Individual Tax Key Staff Law - Accounting - Tax Lifestyle Line Today Management know-how People Development Uncategorized @th Young Executive กิจกรรมสร้างสุขพนักงาน ข่าวสารธรรมนิติ ข่าวสารธรรมนิติ ความรู้ด้าน HR-กฎหมายแรงงาน ความรู้ด้านการบริหารจัดการ ความรู้ด้านไอทีและนวัตกรรม ความรู้ทางกฎหมาย ความรู้ทางบัญชี-การเงินและภาษีอากร ด้าน lifestyle ด้านกฎหมาย ด้านกฏหมาย ด้านตรวจสอบบัญชี และตรวจสอบภายใน ด้านบัญชี ด้านบัญชีการเงินและภาษีอากร ด้านพัฒนาการบริหารและศักยภาพบุคลากร ด้านพัฒนาการบริหารและศักยภาพบุคลากร ด้านไอที ด้านไอที บริการตรวจสอบภายใน ประกาศธรรมนิติ ประกาศธรรมนิติ ประกาศสำคัญ ผลงานของเรา ร่วมงานกับเรา

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?