เงินออมชราภาพ สำหรับผู้ประกันตน ม.33 ม. 39 และ ม. 40

เงินออมชราภาพ สำหรับผู้ประกันตน ม.33 ม. 39 และ ม. 40

เงินชราภาพจากประกันสังคมไม่ใช่แค่สิทธิ แต่คือเงินก้อนสำคัญที่คุณมีสิทธิรับคืนเมื่อถึงวัยเกษียณ แต่หากยื่นขอไม่ทันเวลาสิทธิของคุณก็หลุดทันที ดังนั้นใครมีสิทธิ? ได้คืนเท่าไหร่? ต้องยื่นเมื่อไหร่? บทความนี้จะพาไปหาคำตอบ ทั้ง ม.33 ม.39 และ ม.40 อ่านแล้ววางแผนเกษียณง่ายขึ้นทันที

เงินชราภาพ ประกันสังคม คืออะไร ?

เงินชราภาพประกันสังคม คือ เงินยามเกษียณของผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคม โดยสะสมจากเงินที่ถูกหักประกันสังคมในทุกๆ เดือน เป็นจำนวน 5% ของเงินเดือน (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท) ตั้งแต่ 250 –750 บาท ซึ่งใน 5% นี้ จะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1

• สมทบกองทุนดูแลเรื่อง เจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ / ทุพพลภาพ / คลอดบุตร และเสียชีวิต จำนวน 1.5% หรือ 225 บาท แม้ไม่ใช้สิทธิก็ไม่ได้รับเงินคืน

ส่วนที่ 2

• เก็บเป็นเงินออมกรณีสงเคราะห์บุตร / ชราภาพ จำนวน 3 % หรือ 450 บาท จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปี

ส่วนที่ 3

• ใช้ประกันการว่างงาน จำนวน 0.5 % หรือ 75 บาท หากว่างงานเมื่อไหร่ สามารถใช้สิทธิ์เพื่อเป็นรายได้ระหว่างตกงานหรือกำลังหางานใหม่ หากไม่ใช้สิทธิ์ก็จะไม่ได้รับเงินคืน

ผู้มีสิทธิรับเงินชราภาพ

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิกรณีชราภาพโดยผู้ที่ได้รับแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

1. ผู้ประกันตน ม. 33 ม. 39 และ ม. 40

• ผู้ประกันตน ม. 33 และ ม. 39 ต้องมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน

• ผู้ประกันตน ม. 40 ต้องมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน หรือเมื่อเป็นผู้ทุพพลภาพ

2. ทายาทของผู้ประกันตนที่เสียชีวิต

1) ลูก หรือ ลูกบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย

2) สามี-ภรรยา ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

3) บิดา-มารดา ที่มีชีวิตอยู่

การแบ่งสัดส่วนของเงินชราภาพ

คือ เงินที่ถูกหักจากรายได้ทุกเดือน 5 % ของเงินเดือน เพื่อใช้เป็นเงินบำนาญ และจะได้รับคืนเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

เงินออมชราภาพ สำหรับผู้ประกันตน ม.33 ม. 39 และ ม. 40
การขอรับเงินชราภาพ

1) ยื่นเอกสารแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ

2) ขอรับเงินชราภาพได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิรับเงินกรณีชราภาพ ห้ามเกินแม้แต่วันเดียว เพราะจะถูกตัดสิทธิ์รับเงินบำเหน็จ-บำนาญทันที

3) โดยหลังยื่นเอกสาร จะได้รับ ใน 7-10 วันทำการ หลังจากอนุมัติ โดยโอนเงินเข้าบัญชีในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป

เอกสารและหลักฐานที่ต้องใช้

1. กรณีรับเงินด้วยตัวเอง

1) แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01)

2) สำเนาสมุดบันทึกเงินฝากออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อ และเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร)

2. กรณีรับสิทธิแทน

1) แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01)

2) สำเนามรณบัตร และทะเบียนบ้านผู้ตาย

3) สำเนาบัตรประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้รับเงิน

4) สำเนาทะเบียนสมรสผู้ประกันตน และบิดามารดา (ถ้ามี)

5) สำเนาสูติบัตร หรือ ทะเบียนบ้านของบุตร

6) หนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ (ถ้ามี)

7) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ของผู้ยื่นคำขอฯ

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคม ติดต่อ 1506

อ่านบทความอื่นๆ
เงินชราภาพ ใครมีสิทธิได้บ้าง?
เงินสมทบกรณีชราภาพ สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน…ได้เมื่อไร ใครได้?
ออกจากงานไปนาน ขอรับ ‘เงินชราภาพ’ จากกองทุนประกันสังคมได้หรือไม่? 

 

Copyright ©2025  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?