“สิทธิสตรี” ในกฎหมายแรงงานไทย

11 มีนาคม 2565

สิทธิสตรีในกฎหมายแรงงานไทย

“สิทธิสตรี” ประเทศไทยได้บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับลูกจ้างหญิงเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ต่อแรงงานหญิงอย่างเท่าเทียม

1.ลาคลอดบุตร

ลูกจ้างที่ตั้งครรภ์ สามารถลาเพื่อคลอดบุตรได้ไม่เกิน 98 วัน โดยรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย แบะให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลา (มาตรา 41)

ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างระหว่างการลาคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน (มาตรา  59)

 

2.สิทธิเท่าเทียม ชาย-หญิง

นายจ้างต้องกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง ในอัตราท่ากันทั้งชายและหญิง ในกรณีที่ลักษณะงาน คุณภาพ ปริมาณงานเท่ากัน (มาตร 53)

นายจ้างต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างทั้งชายและหญิงเท่าเทียมกันในงานที่จ้างเว้นแต่ลักษณะงานไม่สามารถทำได้ (มาตรา 15)

ห้ามนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงาน และทำการล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศต่อลูกจ้าง (มาตรา 1611)

 

3.การใช้แรงงานหญิง

ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานต่อไปนี้ (มาตรา 38)

1.1  งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้าง ที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา เว้นแต่สภาพของงานไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้างหญิง

1.2  งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป

1.3  งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ

1.4  งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

4.การใช้แรงงานหญิงมีครรภ์

ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งตั้งครรภ์ทำงาน ดังต่อไปนี้ (มาตรา 39)

1.1  งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน

1.2  งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ

1.3  งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม

1.4  งานที่ทำในเรือ

1.5  งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?