ESG แนวคิด การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ตอนที่ 1

06 มีนาคม 2567

แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

Environmental, Social, Governance ESG

ตอนที่ 1

– ความหมาย และ ตัวอย่างความเสี่ยงของ ES

– การบริหารจัดการความเสี่ยงด้าน ESG สำคัญ อย่างไร ?

ESG คือ อะไร ?

ESG คือ การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน หมายถึง การที่บริษัทประกอบธุรกิจ โดยคำนึงถึงการเติบโตของผลกำไร ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่

1. Environment (การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม) 

เน้นใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท

2. Social (การจัดการด้านสังคม) 

การบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ดูแลความปลอดภัยของพนักงาน รวมถึงมี สัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนรอบด้าน

3. Governance (การจัดการด้านธรรมาภิบาล) 

การมีนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดี ต่อต้านการทุจริต ดำเนินงานอย่างโปร่งใส และดูแลผลประโยชน์ผู้มีส่วนได้เสีย

ตัวอย่างของความเสี่ยงด้าน ESG

ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

– ผลกระทบจากการเปลี่ยนเปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการ และการจัดหาวัตถุดิบ
– ผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ (Water Scarcity) ที่มีต่อกระบวนการผลิตหรือบริการ
– ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเก็บภาษีภาคอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Tax)
– สถานที่ก่อสร้างที่มีความเสี่ยงเรื่องสิ่งแวดล้อมที่สร้างผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ
การเลือกใช้วัสดุที่มีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัย

ความเสี่ยงด้านสังคม 

– การละเมิดสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน
– การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
– พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป
– ความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risk) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน
– คนในชุมชนไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงงานในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงชุมชน
– พนักงานไม่สามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ จึงเป็นความเสี่ยงทำให้ไม่สามารถสร้างคุณค่าที่ตอบสนองต่อเป้าหมายขององค์กรได้

ความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล

– การที่องค์กรไม่เปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นประเด็นที่เป็นความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
– ความบกพร่องในมาตรการกำกับดูแลภายในองค์กร
– ความเสี่ยงจากการเข้าไปลงทุนในประเทศที่มีปัญหาด้านคอรัปชั่น
– การไม่ผ่านกฎระเบียบ เช่น การพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)
– การเลือกวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐานในการก่อสร้าง ทำให้ไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการ

การบริหารจัดการความเสี่ยงด้าน ESG สำคัญ อย่างไร ?

เนื่องจากกระแสความยั่งยืน กำลังเติบโตขึ้นทั่วโลก นักลงทุน ผู้บริโภค และกฎระเบียบ ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมากขึ้น องค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยงด้าน ESG เพื่อรักษาความยั่งยืนและการเติบโตขององค์กรในระยะยาว

ตัวอย่างของการบริหารจัดการความเสี่ยงด้าน ESG ที่องค์กรสามารถทำได้ ได้แก่

– กำหนดนโยบายและแนวทางด้าน ESG
– จัดตั้งคณะกรรมการด้าน ESG
– จัดทำแผนการจัดการความเสี่ยงด้าน ESG
– ติดตามและประเมินความเสี่ยงด้าน ESG
– สื่อสารความเสี่ยงด้าน ESG กับผู้มีส่วนได้เสีย

องค์กรสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน ESG เพื่อขอคำแนะนำในการจัดทำและดำเนินการตามแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงด้าน ESG ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?