มรดก และภาษีการรับมรดก

13 มิถุนายน 2562

เมื่อเจ้ามรดกตาย ใครบ้างจะได้รับมรดก ได้รับจำนวนเท่าไหร่ และต้องเสียภาษีการรับมรดกหรือไม่ พร้อมวิธีคำนวณแบบเข้าใจง่าย มาดูกันครับ

 

หลักเกณฑ์ในการรับมรดก

1.ถ้าผู้ตายมีคู่สมรส ต้องดูว่าทรัพย์สินนั้น เป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส ถ้าเป็นสินสมรส จะต้องแบ่งให้คู่สมรสครึ่งหนึ่งก่อน และส่วนที่เหลือเป็น “ทรัพย์มรดก” ที่จะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม หรือ ผู้รับพินัยกรรม

2.ถ้ามีพินัยกรรม ต้องดูว่าผู้ตายได้ยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้รับพินัยกรรมเท่าใด หากยกให้ทั้งหมด ทายาทโดยธรรมจะไม่มีสิทธิได้รับมรดก แต่หากยกให้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจะนำมาแบ่งแก่ทายาทโดยธรรมตามลำดับ

3.พิจารณาว่าใครบ้างที่เป็นทายาทโดยธรรม เพื่อที่จะทราบว่าใครบ้างที่เป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดก และได้รับในสัดส่วนเท่าใด

4.กรณีไม่มีทายาทโดยธรรม หรือ ผู้รับพินัยกรรม มรดกนั้นจะตกทอดแก่แผ่นดิน

ภาษีมรดก

ผู้รับพินัยกรรม

ผู้รับพินัยกรรม คือ บุคคลที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ โดยอาจเป็นญาติพี่น้อง หรือบุคคลภายนอกก็ได้ และอาจเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลก็ได้

ผู้รับพินัยกรรม มีสิทธิได้รับมรดกก่อนทายาทโดยธรรมเสมอ

  • ถ้าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ผู้รับพินัยกรรม ทายาทโดยธรรมก็จะไม่ได้รับมรดกเลย
  • ถ้าเจ้ามรดกยกให้เพียงบางส่วน ทายาทโดยธรรมก็จะได้รับมรดกเฉพาะส่วนที่เหลือ
  • แต่ถ้าพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ เช่น พินัยกรรมไม่ได้ลงลายมือชื่อ ผู้รับพินัยกรรมจะไม่มีสิทธิรับมรดกนั้น

ทายาทโดยธรรมประเภทญาติ

กฎหมายได้กำหนดลำดับญาติที่มีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังไว้ดังนี้

ทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส

“คู่สมรส มีสิทธิรับมรดกเสมอ”  แต่จะได้รับมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่า ต้องรับมรดกร่วมกับทายาทโดยธรรมประเภทญาติในลำดับใด

* กรณีมีทั้ง ลำดับที่ 1 และ ลำดับที่ 2 ร่วมกัน คู่สมรสก็ได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน (หารเท่า)

ตัวอย่างการคำนวณ

เจ้ามรดก มีที่ดิน 24 ไร่ (สินสมรส) มีเงินสด 120 ล้านบาท (สินส่วนตัว) และรถยนต์ 1 คัน (สินส่วนตัว) มีพินัยกรรมระบุว่ายกรถยนต์ และเงินสดจำนวน 60 ล้านบาท ให้หลาน สามารถแบ่งมรดกได้อย่างไร ?

แบ่งมรดกได้ดังนี้ …

• ที่ดิน 24 ไร่ (สินสมสรส) – แบ่งคู่สมรสกึ่งหนึ่ง = 12 ไร่

• เงินสด 120 ล้าน (สินส่วนตัว) – หลานได้ 60 ล้าน (พินัยกรรม)

• รถยนต์ (สินส่วนตัว) – หลานได้ (พินัยกรรม)

ทรัพย์มรดกที่เหลือ

• ที่ดิน 12 ไร่

– คู่สมรส ได้ 2 ไร่

– บุตรทั้งสาม ได้คนละ 2 ไร่

– บิดา มารดา ได้คนละ 2 ไร่

– พี่ น้อง ไม่มีสิทธิได้รับ

• เงินสด 60 ล้าน

– คู่สมรส ได้ 10 ล้าน

– บุตรทั้งสาม ได้คนละ 10 ล้าน

– บิดา มารดา ได้คนละ 10 ล้าน

– พี่ น้อง ไม่มีสิทธิได้รับ

สรุปการรับมรดก

  • บิดา มารดา และบุตรทั้งสาม ได้รับที่ดินคนละ 2 ไร่ และเงินสดคนละ 10 ล้านบาท
  • คู่สมรส ได้รับที่ดิน 14 ไร่ และเงินสด 10 ล้านบาท
  • หลาน ได้รับเงินสด 60 ล้านบาท และรถยนต์ 1 คัน
  • พี่และน้อง ไม่มีสิทธิได้รับมรดกเลย

ภาษีการรับมรดก

คือ ภาษีที่เก็บจากมูลค่ามรดกที่ทายาทแต่ละคนได้รับจากกองมรดก โดยที่ผู้รับมรดกเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมรดก ได้แก่

– อสังหาริมทรัพย์

– หลักทรัพย์ตามกฎหมาย

– เงินฝาก

– ยานพาหนะ

– ทรัพย์สินทางการเงินตามพ.ร.ฎ.

หากทั้งหมดนี้รวมกันมีมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท (เสียจากส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท)

* คิดจากมูลค่าที่ได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวกันหรือไม่ก็ตาม

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?