สิทธิที่เข้าถึงได้หากมี “กฎหมายคู่ชีวิต”

19 มิถุนายน 2562

คู่ชีวิตเพศเดียวกันจำนวนมากที่ใช้ชีวิตร่วมกันเหมือนครอบครัวทั่วไป แต่สถานภาพของคู่ชีวิตนั้น ไม่มีกฎหมายรับรองไว้ จึงทำให้บุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับ

ทำไมต้องมีกฎหมายคู่ชีวิต ?

คู่ชีวิตเพศเดียวกันจำนวนมากที่ใช้ชีวิตร่วมกันเหมือนครอบครัวทั่วไป แต่สถานภาพของคู่ชีวิตนั้น
ไม่มีกฎหมายรับรองไว้ จึงทำให้บุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับ
ความคุ้มครองตามกฎหมาย ทั้งในเรื่องสิทธิและหน้าที่พึงได้ ซึ่งขัดกับหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานฯ

กระทรวงยุติธรรมจึงได้ผลักดันร่างกฎหมายคู่ชีวิต (พ.ร.บ.การจดทะเบียนคู่ชีวิต) ที่เปิดโอกาสให้กลุ่มคน
ที่มีความหลากหลายทางเพศ สามารถจดทะเบียนแต่งงานกันได้ ถือเสมือนอยู่ในฐานะคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจะส่งผลให้สามารถได้รับรองสิทธิต่างๆตามกฎหมาย ที่ก่อนนี้บุคคลเหล่านี้อาจจะยังเข้าไม่ถึง

สิทธิที่คู่ชีวิตจะได้รับ

1.สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน

  • สิทธิในการลดหย่อนภาษี
  • สิทธิในสินสมรส
  • สิทธิในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน
  • สิทธิในการรับมรดก
  • สิทธิในการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู

2.สิทธิในการรักษาพยาบาล

  • สิทธิในค่ารักษาพยาบาล
  • สิทธิในการตัดสินใจเรื่องการรักษาพยาบาล
  • สิทธิในการรับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรักษา

3.สิทธิในกรณีคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต

  • สิทธิในการจัดการศพ
  • สิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับศพ

4.สิทธิในการดำเนินคดีอาญา

  • สิทธิตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เช่น สิทธิแจ้งความแทน, สิทธิดำเนินคดีแทน ในกรณีที่คู่ชีวิตดำเนินคดีค้างไว้แล้วตายก่อนคดีจบ, สิทธิร้องขอให้ศาลทุเลาการจำคุกเพื่อสุขภาพของจำเลย
  • สิทธิดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทคนตาย
  • สิทธิเข้าเยี่ยมในเรือนจำกรณีที่นักโทษป่วย

5.สิทธิในกรณีคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต

  • สิทธิในการได้สัญชาติ และการเข้าเมือง
  • สิทธิในการขอวีซ่าเดินทาง
  • สิทธิในการเปลี่ยนนามสกุลตามคู่ชีวิต
  • สิทธิในการขึ้นศาลเยาวชนและครอบครัว
  • สิทธิได้รับความคุ้มครองจากความรุนแรงในครอบครัว
  • สิทธิเป็นผู้อนุบาล หรือ ผู้พิทักษ์ หากคู่ชีวิตถูกศาลสั่งให้คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?