เมื่อกัญชาเป็น สมุนไพรควบคุม* จะใช้อย่างไรได้บ้าง

เมื่อกัญชาเป็น สมุนไพรควบคุม* จะใช้อย่างไรได้บ้าง


ผู้ที่อายุ 20
ปีขึ้นไป เท่านั้น

ครอบครองเพื่อใช้ ดูแล เก็บรักษา จำหน่าย

 

ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์

ใช้เพื่อรักษากับผู้ป่วย

 

ผู้ป่วย(ในการดูแลของแพทย์)

ใช้ตามที่แพทย์จ่ายให้ เป็นเวลา 30 วัน

 

สิ่งที่ไม่สามารถทำได้

  • ใช้เพื่อสูบในที่สาธารณะ
  • ใช้กับสตรีมีครรภ์ / ให้นมบุตร
  • การจำหน่ายให้คนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี /สตรีมีครรภ์ / ให้นมบุตร

 

ปลูก.ขาย.สูบ ได้หรือไม่

ปลูก

• ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องลงทะเบียนในแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ”

ขาย

• ส่วนของพืช > ไม่ต้องขออนุญาต

• เมล็ดและกิ่งพันธุ์ > ต้องขออนุญาต

• สารสกัด มี THC ไม่เกิน 0.2% > ไม่ต้องมีใบอนุญาต

• สารสกัด มี THC เกิน 0.2% > ผู้ซื้อ – ผู้ขาย ต้องมีใบอนุญาต

สูบ

• ไม่มีความผิดตามกฎหมายยาเสพติด

• แต่การสูบในที่ สาธารณะ กลิ่นและควันเข้าข่าย ถือเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่นได้*

• โดยสามารถแจ้งเจ้าพนักงานในท้องถิ่นได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท

 

การขายผลิตภัณฑ์ที่มีกัญชาต้องขออนุญาตหรือไม่

ต้องขอรับอนุญาต ตามกฎหมายนั้นๆ เช่น

 

ผลิตภัณฑ์อาหาร

เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต้องมีการขออนุญาตตามระเบียบและต้องมีคำเตือนในสื่อโฆษณา

หากโฆษณาเกินจริง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

สำหรับบำรุงผิว ทำความสะอาดผิว ขัดผิว ต้องแจ้งกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หากโฆษณาเกินจริง มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

เช่น ยาแผนไทย ชาจากใบกัญชา ต้องมีการขออนุญาตตามระเบียบ

หากโฆษณาเกินจริง มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ผลิตภัณฑ์ยา

เช่น น้ำมันกัญชา ต้องมีการขออนุญาตตามระเบียบ

 

การนำเข้ากัญชาทำได้หรือไม่

การนำเข้ากัญชา

• ห้ามนำเข้าส่วนต่างๆ ของพืช

• ห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของกัญชา ยกเว้น เป็นการนำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรของหน่วยงานรัฐที่มีภารกิจป้องกันหรือบำบัดโรค / สถาบันอุดมศึกษาของรัฐเพื่อการศึกษาวิจัย

• กรณีนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชา มาเพื่อการค้า ต้องขออนุญาตนำเข้าที่กรมวิชาการเกษตรแจ้งรายละเอียดการนำเข้า และรับสินค้าที่ด่านศุลกากรที่แจ้งนำเข้า (ตามพ.ร.บ. พันธุ์พืช พ.ศ. 2518)

 

การนำส่วนของกัญชามาทำอาหารขาย ได้หรือไม่

ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมอนามัย ดังนี้

• แสดงข้อแนะนำ เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร

• แสดงรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาทั้งหมด

• แสดงข้อมูลปริมาณ การใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบ เช่น อาหารทอด แนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1-2 ใบสดต่อเมนู / สำหรับอาหารประเภทผัด แกง ต้ม ผสมในเครื่องดื่มแนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1 ใบสดต่อเมนู (ห้ามใช้ส่วนดอก)

• ห้ามแสดงข้อความ/โฆษณา สรรพคุณในการป้องกันหรือรักษาโรค

• แสดงคำเตือน รายการอาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชาในภาชนะบรรจุ ดังนี้

• “เด็ก อายุต่ำกว่า 18 ปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตรไม่ควรรับประทาน”

• “หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที”

• “ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) หรือสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) ควรระวังในการรับประทาน“

• “อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล”

 

สรุปอะไรทำได้ ทำไม่ได้ และการขออนุญาต เกี่ยวกับกัญชา


 

 

 

 

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?