Special Audit คืออะไร ? ต่างจากการตรวจสอบปกติของผู้สอบบัญชีอย่างไร?

special audit

14 พฤศจิกายน 2566

Special Audit คืออะไร ?

SPECIAL AUDIT หรือ การตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ 

คือ การตรวจสอบเฉพาะเรื่องที่กำหนด เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ หรือวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ

SPECIAL AUDIT ต่างจากการตรวจสอบปกติของผู้สอบบัญชีอย่างไร?

การตรวจสอบงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนโดยผู้สอบบัญชี จะเป็นการตรวจสอบเพื่อให้ผู้สอบบัญชี สามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินงวดที่ตรวจสอบ โดยผู้สอบบัญชีจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน การสอบบัญชี ในขณะที่ SPECIAL AUDIT จะเป็นการตรวจสอบเฉพาะเรื่องหรือขอบเขตงานที่กำหนด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การตรวจสอบความมีอยู่จริงของลูกหนี้การค้า เป็นต้น

ทำไมต้องใช้ Special Audit ?

กรณีที่บริษัทจดทะเบียนต้องการตรวจสอบข้อมูลในเรื่องใด ๆ เชิงลึกมากน้อยแค่ไหน ก็สามารถว่าจ้างให้ผู้สอบบัญชีเข้าไปตรวจสอบตามขอบเขตที่กำหนด เพื่อรวบรวม ข้อเท็จจริงและเอกสารหลักฐานโดยเฉพาะเองได้

การสั่ง SPECIAL AUDIT ของ ก.ล.ต. มักเกิดจากกรณีมีเหตุสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้อง หรือความชัดเจนของข้อมูลในงบการเงินหรือเอกสารหรือรายงานของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งอาจกระทบสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์หรือการตัดสินใจลงทุน ทำให้มีความจำเป็น “ต้องค้นหาข้อเท็จจริง และเอกสารหลักฐานในเชิงลึก” ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอื่น (non-financial data) ซึ่งมากกว่าการตรวจสอบปกติของผู้สอบบัญชี เพื่อตรวจสอบว่า มีความผิดปกติของข้อมูลในงบการเงินหรือไม่ หรือมีการดำเนินงานที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นหรือไม่ รวมทั้งเพื่อเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องด้วย

การสั่ง SPECIAL AUDIT ของ ก.ล.ต. มักเกิดจากกรณีมีเหตุสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้อง หรือความชัดเจนของข้อมูลในงบการเงินหรือเอกสารหรือรายงานของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งอาจกระทบสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์หรือการตัดสินใจลงทุน ทำให้มีความจำเป็น

“ต้องค้นหาข้อเท็จจริง และเอกสารหลักฐานในเชิงลึก” ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอื่น (non-financial data) ซึ่งมากกว่าการตรวจสอบปกติของผู้สอบบัญชี เพื่อตรวจสอบว่า มีความผิดปกติของข้อมูลในงบการเงินหรือไม่ หรือมีการดำเนินงานที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นหรือไม่ รวมทั้งเพื่อเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องด้วย

ผู้สอบบัญชี ให้ความเห็นแบบนี้อาจต้องเจอ Special Audit

●  งบการเงินถูกต้อง แต่มีเงื่อนไขบางประการ
●  งบการเงินถูกต้อง แต่มีข้อสังเกตบางเรื่อง ที่ผู้สอบบัญชี อยากเน้นให้ระวัง เช่น รายได้หลักของบริษัทมาจากคู่ค้าเพียงรายเดียวเท่านั้น
●  ไม่อาจแสดงความเห็น ต่องบการเงินได้ เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบได้ หรือติดข้อจำกัดบบางประการ
●  งบการเงินไม่ถูกต้อง

หากมีความผิดปกติ ข้อใดข้อหนึ่ง ก็อาจเป็นเหตุผลให้ ก.ล.ต. สั่งตรวจ หรือให้ติดตามข้อสงสัยได้ รวมถึง ถ้ามีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับบริษัท ก็สามารถสั่งตรวจ Special Audit ได้เช่นกัน

ระยะเวลาในการตรวจสอบ ?

ส่วนของระยะเวลา ในการตรวจสอบนั้น เบื้องต้น ก.ล.ต. กำหนดไว้ ที่ 30 วัน แต่อาจยื่นระยะเวลาออกไปได้อีก หากเอกสารที่ต้องตรวจสอบ มีจำนวนมาก

ซึ่งขึ้นอยู่กับ ดุลยพินิจ ของทาง ก.ล.ต. ด้วย

โดยที่ผ่านมา เคยมีกรณี ที่ ก.ล.ต. ขยายเวลา ในการนำส่งรายงาน การตรวจสอบ กรณีพิเศษ ครั้งที่ 2

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?