“การรับรู้รายได้” ถึงจะยากแต่น่าสนใจ

การรับรู้รายได้ตามมาตรฐานใหม่

นอกจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ TFRS 16 ที่มีการถือปฏิบัติมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ยังมี  มาตรฐานฯ ฉบับที่ 15 ที่น่าสนใจ โดยเกี่ยวกับ ‘รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า’ ที่มีผลบังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มใน  หรือ  หลังวันที่ 1 มกราคม 2563  ซึ่งมุ่งเน้นให้รายได้ที่รับรู้มา มีลักษณะเป็น forward looking มากขึ้น

กล่าวคือ ต้องสะท้อนถึงสิ่งตอบแทนที่กิจการคาดว่าจะได้รับ หรือมีสิทธิพึงได้รับเพื่อเป็นการตอบแทนการโอนการควบคุมในสินค้า/บริการ ด้วยเหตุนี้ สัญญาที่ทำกับลูกค้า จึงเป็นเรื่องที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญในรายละเอียดให้มากขึ้น

ด้าน “ช่วยเหลือลูกหนี้” แนวทางการทำสัญญากับลูกค้า ให้สัมพันธ์ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่

ข้อ 1 :  ต้องมีคู่สัญญาในสัญญา เข้ามาทำการอนุมัติสัญญา และสัญญานั้นต้องมีผลผูกพันให้ทั้งสองฝ่ายทำตามภาระผูกพันในสัญญานั้น

ข้อ 2 :  สัญญานั้นต้องนำไปสู่การระบุสิทธิ์ของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย ในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ต้องส่งมอบได้ว่าผู้ซื้อมีสิทธิ์เรียกร้องให้ผู้ขายทำการส่งมอบสินค้าหรือบริการ โดยแลกเปลี่ยนกับสิ่งตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ขายมีสิทธิ์ที่จะเรียกชำระสิ่งตอบแทนสำหรับค่าสินค้าหรือบริการที่ขายไป

ข้อ 3 :  สัญญานั้นต้องมีการระบุเงื่อนไขการชำระสิ่งตอบแทน สำหรับสินค้าหรือบริการที่จะส่งมอบกัน เช่น ลูกค้าจะต้องชำระสิ่งตอบแทนสำหรับสินค้าหรือบริการนั้นภายในระยะเวลา 60 วัน แต่ถ้าชำระเสร็จสิ้นก่อนนั้นก็อาจมีการกำหนดเปอร์เซ็นต์ส่วนลดไว้ให้เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้ซื้อ

ข้อ 4 :  สัญญาที่ทำขึ้นต้องมีเนื้อหาเชิงพาณิชย์มาตรฐานฯ กล่าวคือ สัญญานั้นต้องทำให้กระแสเงินสดในอนาคตของกิจการเปลี่ยนแปลงไป อาจเป็นจำนวน จังหวะเวลา และความเสี่ยงต่อการจะได้รับชำระ

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมาอาจไม่เพียงพอ เพราะผู้ขายต้องมีความแน่วแน่ตั้งใจจริงด้วยว่า จะเรียกเก็บเงินกันจริงๆ จากผู้ซื้อได้นั่นเอง

 

เนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ E-book

“ชวนคุยชวนคิดประสานักบัญชี

ราคา 139 บาท (อ่านออนไลน์ผ่านเว็บหรือแอพ) สั่งซื้อคลิกที่นี่ !!

*วิธีการซื้อ E-book จาก meb : https://bit.ly/3mEWXfR 

tag

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?