สรุป 5 กลุ่ม ค่าลดหย่อน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2566

สรุป 5 กลุ่ม ค่าลดหย่อน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2566

1. ค่าลดหย่อนส่วนบุคคลและครอบครัว

สถานะการสมรส

โสด (หย่า/ม่าย) >>>>> ลดหย่อนได้ 60,000 บาท
คู่สมรสมีเงินได้ แยกยื่นแบบ >>>>> ลดหย่อนได้ 60,000 บาท
คู่สมรสมีเงินได้ ยื่นรวม >>>>> ลดหย่อนได้ 120,000 บาท
คู่สมรสไม่มีเงินได้ >>>>> ลดหย่อนได้ 120,000 บาท

บิดา-มารดา / บิดา-มารดาของคู่สมรส ที่ไม่มีรายได้

ลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาท

บุตร / บุตรบุญธรรม (คนละ)

บุตรที่เกิดก่อนปี 2561 >>>>> ลดหย่อนได้ 30,000 บาท
บุตรตั้งแต่คนที่ 2 ที่เกิดใน / หลังปี 2561 >>>>> ลดหย่อนได้ 60,000 บาท
บุตรบุญธรรม >>>>> ลดหย่อนได้ 30,000 บาท (สูงสุดไม่เกิน 3 คน)

ฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร

ลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาท

อุปการะเลี้ยงดูผู้พิการ / ทุพพลภาพ

ลดหย่อนได้ คนละ 60,000 บาท

2. ประกัน

ประกันสังคม ปี 2566

– ผู้ประกันตนตาม ม. 33 ลดหย่อนได้สูงสุด 9,000 บาท
– ผู้ประกันตนตาม ม. 39 ลดหย่อนได้สูงสุด 5,184 บาท
– ผู้ประกันตนตาม ม. 40 ลดหย่อนได้สูงสุด ไม่เกิน 840 – 3,600 บาท ตามที่จ่ายจริง

เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง

สามารถลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
*เบี้ยประกันชีวิตตนเองและเบี้ยประกันสุขภาพตนเอง รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท

เบี้ยประกันชีวิตตนเอง

สามารถลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
*เบี้ยประกันชีวิตตนเองและเบี้ยประกันสุขภาพตนเอง รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท

เบี้ยประกันชีวิต ของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้

สามารถลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

เบี้ยประกันสุขภาพ ของบิดา – มารดา

สามารถลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

3. การออมและการลงทุน

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF

สามารถลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 30 % ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

กองทุนรวมเพื่อการออม SSF

สามารถลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 30 % ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)

สามารถลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15 % ของเงินได้เฉพาะ 40(1) แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15 % ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 200,000 บาท

เงินสะสมกองทุน (กบข.)

ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 30 % ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 500,000 บาท

กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน

ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15 % ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 500,000 บาท

เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท

4. สิทธิประโยชน์อื่นๆ

ค่าสนับสนุนพรรคการเมือง

สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย

สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)

สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

โครงการช้อปดีมีคืน (ตั้งแต่ 1 ม.ค. -15 ก.พ. 66)

สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท

5. เงินบริจาค

เงินบริจาคเพื่อการศึกษา, โรงพยาบาล, สังคม

สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ของเงินบริจาคจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

เงินบริจาคทั่วไป

สามารถลดหย่อนภาษีได้ ตามที่บริจาคจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?