“ขายฝาก” และ “จำนอง”ต่างกันอย่างไร? สรุปและเปรียบเทียบความแตกต่าง

“ขายฝาก” และ “จำนอง”ต่างกันอย่างไร?  มารู้ที่นี่ก่อนทำสัญญา

ขายฝาก

ขายฝากอสังหาริมทรัพย์ คือ การทำนิติกรรมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่จดทะเบียน ซึ่งผู้ขายฝากจะต้องขอไถ่ถอนภายในกำหนดระยะเวลาสัญญาขายฝาก/ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงจะได้รับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินคืน (อสังหาริมทรัพย์ 10 ปี และสังหาริมทรัพย์ 3 ปี นับแต่วันทำสัญญา)

 

จำนอง

จำนอง คือ การนำทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ไป
จดทะเบียนไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่ง เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้แก่ผู้รับจำนอง โดยอสังหาริมทรัพย์นั้นยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับจำนองโดยทันที หากผิดนัดชำระหนี้ ต้องมีการฟ้องร้องบังคับคดีให้ศาลยึดทรัพย์เสียก่อน

 

ความแตกต่าง

ขายฝาก

ลักษณะสัญญา : กรรมสิทธิ์ตกเป็นของเจ้าหนี้

กรณีผิดสัญญา : ทรัพย์สินตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที ไม่ต้องฟ้องร้องต่อศาลก่อน

ค่าจดทะเบียน : ค่าธรรมเนียม 2%ของราคาประเมินทรัพย์

วงเงินทรัพย์ : ได้วงเงินประมาณ 40%–70% ของราคาประเมิน

จำนอง

ลักษณะสัญญา : กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกเป็นของผู้รับจำนอง

กรณีผิดสัญญา : ผู้รับจำนองต้องฟ้องร้องต่อศาล เพื่อขอยึดทรัพย์และขายทอดตลาด มาชำระหนี้

ค่าจดทะเบียน : ค่าธรรมเนียม 1% ของวงเงินจำนอง

วงเงินทรัพย์ : ได้วงเงินประมาณ 10-30% ของราคาประเมิน

 

ข้อดี ข้อเสีย

ขายฝาก

ข้อดี

– ได้รับการอนุมัติเร็วและมักได้วงเงินสูงกว่าการจำนองค่อนข้างมาก

– สามารถไถ่ถอนคืนทรัพย์สินได้

– สามารถขยายเวลาไถ่ถอน/ต่อสัญญาขายฝากได้หลายครั้ง
แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี

ข้อเสีย

– มีความปลอดภัยด้านทรัพย์สิน เนื่องจากไม่ต้องขายทรัพย์สินนั้น

– ค่าธรรมเนียมถูกกว่าการขายฝาก

 

จำนอง

ข้อดี

– มีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยของทรัพย์สินที่นำไปขายฝาก

– ค่าธรรมเนียมสูงกว่าการจำนอง

ข้อเสีย

– วงเงินที่ได้รับต่ำกว่าการขายฝาก

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?