ส่องเงื่อนไขการชุมนุม

23 กุมภาพันธ์ 2565

การชุมนุมสาธารณะ คืออะไร ?

การชุมนุมสาธารณะ คือ การชุมนุมของบุคคลในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน หรือแสดงความคิดเห็นต้องเป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธ

การชุมนุมต้องห้าม ตาม พ.ร.บ.

1.ห้ามจัดการชุมนุมภายในรัศมี 150 เมตร (มาตรา 7)

จากพระบรมมหาราชวัง พระราชวัง วังของพระรัชทายาทหรือของพระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป พระตำหนักหรือจากที่ซึ่งพระมหากษัตริย์ พระราชินีพระรัชทายาท พระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประทับอยู่หรือสถานที่พำนักของพระราชอาคันตุกะ

2.ห้ามจัดการชุมนุมภายในพื้นที่ของรัฐสภา (มาตรา 7)

ทำเนียบรัฐบาล ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาและศาลอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาล เว้นแต่มีการจัดให้มีสถานที่ เพื่อใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะภายในพื้นที่นั้น

3.ห้ามจัดการชุมนุมภายในรัศมีไม่เกิน 50 เมตร (มาตรา 7)

รอบสถานที่ของรัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรมศาลปกครอง ศาลทหาร และศาลอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาล ตามประกาศของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ได้รับมอบหมายเมื่อได้มีการประกาศห้ามชุมนุมรอบสถานที่ดังกล่าว

4.ห้ามจัดการชุมนุมสาธารณะที่กีดขวางทางเข้าออก (มาตรา 8)

หรือรบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้บริการสถานที่ ดังต่อไปนี้

1. สถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐ

2. ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสาธารณะ

3. โรงพยาบาล สถานศึกษา และศาสนสถาน

4. สถานทูตหรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ หรือสถานที่ทำการองค์การระหว่างประเทศ

5. สถานที่อื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

การชุมนุมที่ไม่ได้อยู่ในข้อบังคับ (มาตรา 3)

1. การชุมนุมเนื่องในงานพระราชพิธีและงานรัฐพิธี

2. การชุมนุมเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือกิจกรรมตามประเพณีหรือตามวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น

3. การชุมนุมเพื่อจัดแสดงมหรสพ กีฬา ส่งเสริมการท่องเที่ยว หรือกิจกรรมอื่นเพื่อประโยชน์ทางการค้าของผู้จัดการชุมนุมนั้น

4. การชุมนุมภายในสถานศึกษา

5. การชุมนุมหรือการประชุมตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือการประชุมสัมมนาทางวิชาการของสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่มีวัตถุประสงค์ทางวิชาการ

6. การชุมนุมสาธารณะในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึกและการชุมนุมสาธารณะที่จัดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้งในช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้ง แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

การแจ้งการชุมนุมสาธารณะ (มาตรา 10)

การแจ้งในที่นี้ เป็นการแจ้งเพื่อทราบ เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เตรียมตัวในการอำนวยความสะดวกแก่การชุมนุมและผู้สัญจรผ่านพื้นที่สาธารณะดังกล่าวไม่ใช่การขออนุญาต และเจ้าหน้าที่ไม่อาจปฏิเสธหรือไม่รับแจ้งการชุมนุมได้

ใครมีหน้าที่แจ้ง

ผู้ที่ประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะ มีหน้าที่แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจแห่งท้องที่ที่มีการชุมนุมหรือบุคคลอื่นตามที่รัฐกำหนด

ระบุจุดประสงค์

แจ้งวัน ระยะเวลา และสถานที่ชุมนุมสาธารณะ โดยจะแจ้งเป็นหนังสือโดยตรง แจ้งทางโทรสารหรือแจ้งทางE-mail ก็ได้

(ตามแบบที่กำหนด)

ต้องแจ้งเมื่อใด

จะต้องแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง

รับหนังสือจากตำรวจ

เจ้าหน้าที่ตำรวจจะสรุปสาระสำคัญของการชุมนุม และส่งกลับผู้แจ้งภายใน 24 ชั่วโมง หลังแจ้งการชุมนุม

หน้าที่ของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุม (มาตรา 19)

1. อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะเป็นสถานที่ชุมนุม

2. รักษาความปลอดภัยอำนวยความสะดวก หรือบรรเทาเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่นซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ชุมนุม

3. รักษาความปลอดภัยหรืออำนวยความสะดวกแก่ผู้ชุมนุมในสถานที่ชุมนุม

4. อำนวยความสะดวกในการจราจรและการขนส่งสาธารณะในบริเวณที่มีการชุมนุมและบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการชุมนุมน้อยที่สุด

หน้าที่ของผู้ชุมนุม (มาตรา 16)

1. ไม่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่ประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะอันเป็นที่ชุมนุมหรือไม่ทําให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน

2. ไม่ปิดบังหรืออําพรางตนโดยจงใจไม่ให้มีการระบุตัวบุคคลได้ถูกต้องเว้นแต่เป็นการแต่งกายตามปกติประเพณี

3. ไม่พาอาวุธ ดอกไม้เพลิง สิ่งเทียมอาวุธปืน หรือสิ่งที่อาจนํามาใช้ได้อย่างอาวุธ เข้าไปในที่ชุมนุม ไม่ว่าจะได้รับอนุญาตให้มีสิ่งนั้นติดตัวหรือไม่

4. ไม่บุกรุกหรือทําให้เสียหาย ทําลาย หรือทําด้วยประการใด ๆ ให้ใช้การไม่ได้ตามปกติซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่น

5. ไม่ทําให้ผู้อื่นกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน หรือเสรีภาพ

6. ไม่ใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้ายผู้เข้าร่วมชุมนุมหรือผู้อื่น

7. ไม่ขัดขวางหรือกระทําการใด ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะในการคุ้มครองความสะดวกของประชาชนในการใช้ที่สาธารณะ และการดูแลการชุมนุมสาธารณะนั้น

8. ไม่เดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายการชุมนุมระหว่างเวลา 18.00 น. ถึงเวลา 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ

9. ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ

 หน้าที่ของผู้จัดการชุมนุม (มาตรา 15)

1. ดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะให้เป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธภายใต้ขอบเขตการใช้สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

2. ดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะไม่ให้เกิดการขัดขวางเกินสมควรต่อประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ ตลอดจนดูแลและรับผิดชอบให้ ผู้ชุมนุมปฏิบัติตามมาตรา 16

3. แจ้งให้ผู้ชุมนุมทราบถึงหน้าที่ของผู้ชุมนุมตามมาตรา 16 และเงื่อนไขหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ

4. ให้ความร่วมมือแก่เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะในการดูแลการชุมนุมสาธารณะให้เป็นไปตาม ข้อ 1 และ ข้อ 2

5. ไม่ยุยงส่งเสริมหรือชักจูงผู้ชุมนุมเพื่อให้ผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตามมาตรา 16

6. ไม่จัดกิจกรรมในการชุมนุมโดยใช้เครื่องขยายเสียงในระหว่างเวลา 24.00 น. ถึงเวลา 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น

7. ไม่ใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกําลังไฟฟ้าที่มีขนาดหรือระดับเสียงตามที่ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติประกาศกําหนด

บทกำหนดโทษ

1.ผู้จัดชุมนุมในพื้นที่และรัศมีที่ห้ามจัด (มาตรา 27)

หรือมีการจัดการชุมนุมกีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนการใช้บริการในสถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานศึกษา ศาสนสถาน สถานทูต หรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ หรือสถานที่ทำการขององค์การระหว่างประเทศและสถานที่อื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 7 หรือมาตรา 8

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2.จัดการชุมนุมโดยไม่แจ้ง (มาตรา 28)

หรือจัดขึ้นภายหลังจากที่ผู้ยื่นคำขอได้รับหนังสือแจ้งว่าไม่มีเหตุผลอันสมควรให้ผ่อนผันกำหนดเวลา หรือเดินขบวนเคลื่อนย้ายการชุมนุมโดยไม่มีการแจ้งว่าจะมีการเดินขบวน หรือไม่เลิกการชุมนุมในเวลาที่แจ้งไว้ ต่อผู้รับแจ้ง ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 10, 12, 17 หรือ 18

ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

3.ผู้จัดการชุมนุมหรือผู้ชุมนุมที่ฝ่าฝืนคำสั่งห้ามชุมนุม  (มาตรา 29)

หรือจัดให้มีการชุมนุมระว่างมีคำสั่งห้ามชุมนุม ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 11

ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4.ผู้จัดการชุมนุมที่ไม่ดูแลรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณให้เป็นไปโดยสงบ (มาตรา 30)

หรือไม่ดูแลผู้ชุมนุม ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้จัดการชุมนุม ตามมาตรา 15 (1) (2) หรือ (3) หรือผู้ชุมนุมผู้ใด ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 16 (1) หรือ (2)

ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

6.ผู้ใดไม่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานซึ่งดูแลการชุมนุม (มาตรา 34)

หรือผู้ควบคุมสถานการณ์การชุมนุมให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้พาอาวุธเข้าไปในที่ชุมนุม ไม่ว่าจะได้รับอนุญาตให้มีอาวุธติดตัวหรือไม่

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(ถ้าอาวุธนั้นเป็นปืน วัตถุระเบิด หรือวัตถุอื่นใดที่มีสภาพคล้ายคลึงกันผู้กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

 

ผลวิเคราะห์กระแสในโลกออนไลน์

ในช่วงสถานการณ์โควิดนี้ มาดูกระแสบนโลกออนไลน์กันว่ามีการพูดถึงหรือค้นหา “การชุมนุม” อย่างไร โดยเราใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า Zanroo Search ใช้ในการค้นหา พบว่ามีการพูดถึงกันมากบนโลกออนไลน์ โดยใช้ค้นหาข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม – 26 สิงหาคม 2563 ช่วงวันที่มีการพูดถึงเรื่องการชุมนุมมากที่สุด คือ ช่วงวันที่ 1-3 สิงหาคม 2563 โดยส่วนใหญ่พูดถึงผ่านช่องทาง Forum & Blog

 

โดยมีการพูดถึง “การชุมนุม” ทั้งหมด 5 ข้อความ ซึ่งช่องทางที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดคือ Forum & Blog จำนวน 3 ข้อความ

จะเห็นได้ว่า เนื้อหาที่ได้รับความนิยมและผู้คนมีส่วนร่วมมากที่สุด มาจากช่องทาง Facebook โดยเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการชุมนุมตามวิถีแห่งประชาธิปไตย ซึ่งมีการเข้าชมมากกว่า 1,251 ครั้ง

นอกจากนั้น เครื่องมือ Zanroo ยังสามารถบอกได้อีกว่า แต่ละ Channel ที่มีการพูดถึง “การชุมนุม” นั้น ผู้โพสต์หรือผู้มีส่วนรวม มีความรู้สึกหรือความคิดเห็นอย่างไรบ้าง ซึ่งจากภาพแสดงได้ว่าผู้คนมีการกดไลค์ คอมเมนต์ และมองเห็นเป็นส่วนใหญ่ และยังสามารถดูความรู้สึกได้จาก Emoji ได้อีกด้วย

 

สุดท้าย ต้องขอขอบคุณสำหรับเครื่องมือ Zanroo Search ที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลและการเปรียบเทียบเพื่อทำการตลาดที่ง่ายขึ้น หากใครที่สนใจสามารถทดลองใช้งานได้ที่ https://www.zanroo.com/

tag

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?