ทนายใหม่ต้องอ่าน … 7 ข้อควรรู้กับการสืบพยานครั้งแรก

ทนายใหม่ ต้องอ่าน ... 7 ข้อควรรู้กับการสืบพยานครั้งแรก

03 ธันวาคม 2562

ทนายใหม่ .. สืบพยานอย่างไรไม่ให้ศาลดุ

1. การถามพยาน ป.วิ.พ. มาตรา 117

แบ่งการถามพยานออกเป็น 3 ประเภท และลำดับขั้นตอนได้ดังนี้

• การซักถาม

เป็นการถามพยานเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องราว ตามลำดับเหตุการณ์ ตามประเด็นพิพาทที่ตนมีภาระการพิสูจน์ โดยเทคนิคการใช้คำถามในการซักถาม ควรต้องประกอบด้วย
1. การซักถามในด้านกว้าง เป็นการซักถามเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงตามลำดับเหตุการณ์
2. การซักถามในด้านลึก เป็นการซักถามเกี่ยวกับน้ำหนักพยานเพื่อให้ได้รับความเชื่อจากศาล

• การถามค้าน

เป็นการถามเพื่อทำลายน้ำหนักคำของพยานฝ่ายตรงข้าม จะมีสิทธิถามค้านได้ก็ต่อเมื่อ ทนายอีกฝ่ายหนึ่งได้ซักถามจนเสร็จสิ้นแล้ว เทคนิคการใช้คำถามในการถามค้านเพื่อทำลายน้ำหนักของพยาน อาจถามค้านให้เห็นว่า

1. พยานมีอคติ
2. ฐานะของพยานไม่น่าเชื่อถือ
3. โอกาสรู้เห็นในเรื่องที่เบิกความไม่น่าเชื่อถือ
4. ข้อเท็จจริงที่เบิกความไม่น่าเชื่อถือ
5. ความรู้ของพยานไม่น่าเชื่อถือ
6. ความชำนาญของพยานไม่น่าเชื่อถือ

• การถามติง

เป็นการถามที่มุ่งหมายจะนำน้ำหนักคำพยานปากนั้นกลับมา หรือเป็นการทำลายความมุ่งหมายของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่ได้ถามค้านนั่นเอง และจะถามติงได้ต่อเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้ถามค้านเสร็จแล้ว ในการถามติง ต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
  1. เตือนสติพยาน ให้ทราบว่าถ้อยคำที่เบิกความตอบคำถามค้านไปนั้นยังมีข้อที่ต้องแก้ไขหรือเพิ่มเติม เพื่อให้กลับมาเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน
2. ทำลายความมุ่งหมายของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งได้ถามค้านไว้

2. หน้าที่ในการถามพยาน

• การซักถาม และ การถามติง

ทนายความฝ่ายที่อ้างพยาน เป็นผู้มีหน้าที่ดำเนินการซักถาม และ ถามติง ( ** ห้ามใช้คำถามนำ ** )

• การถามค้าน

ทนายความอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้มีหน้าที่ดำเนินการถามค้าน

3. คำถามนำ

คำถามนำ คือ คำถามซึ่งชี้นำคำตอบอยู่ในตัวคำถามนั้น หรือคำถามที่มีคำตอบเพียง ใช่หรือไม่ใช่

ตัวอย่าง

Q : พยานเคยไปบ้านที่พิพาทใชหรือไม่
A : ใช่
Q : พยานเคยเห็น นาย ก. ครอบครองที่พิพาทมากี่ปี
A : 10 ปี

4. สรรพนามแทนตัวพยาน

การเรียกลูกความ หรือ บุคคลใดที่มาเป็นพยานต่อหน้าศาลแล้ว ควรเรียกแทนตัวผู้นั้นว่า “พยาน”

5. การจบการถามพยาน

หลังจากที่ทำการถามพยานจนเสร็จสิ้นทุกครั้ง ต้องบอกให้ศาลทราบ โดยอาจกล่าวว่า “หมดคำถามครับ / ค่ะ”

6. ความกลัว

การจัดการกับความกลัว แน่นอนว่าการสืบพยานครั้งแรก ทุกท่านย่อมต้องมี “ความกลัว” เกิดขึ้นในจิตใจ ดังนั้น ก่อนขึ้นสืบพยาน ทนายความต้องมีการเตรียมความพร้อม หาข้อมูลและเทคนิคในการสืบพยาน คาดเดาการถามค้านของฝ่ายตรงข้าม และที่สำคัญควรมีหนังสือคู่มือคู่ใจสำหรับการสืบพยานโดยเฉพาะไว้ด้วย

7. คู่มือที่ขาดไม่ได้

คู่มือที่จะบอกถึงข้อมูลและเทคนิคในการสืบพยานเพื่อให้การตอบคำถามของพยานเป็นประโยชน์แก่คดี จากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนกว่า 30 ปี

ทนายใหม่ ต้องอ่าน ... 7 ข้อควรรู้กับการสืบพยานครั้งแรก

 

สแกน QR CODE เพื่อสั่งซื้อที่นี่

ทนายใหม่ ต้องอ่าน ... 7 ข้อควรรู้กับการสืบพยานครั้งแรก

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?