ข้างบ้านเสียงดัง กฎหมายช่วยอะไรได้บ้าง ?

08 พฤศจิกายน 2565

หากเพื่อนบ้าน ส่งเสียงดัง จนท่านได้รับผลกระทบ ต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

• ตั้งวงปาร์ตี้จนดึก ต่อเติม ซ่อมแซมบ้าน ที่สร้างความเดือดร้อนรำคาญ
• พักผ่อนไม่เพียงพอ จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต
• รบกวนสมาธิในการทำงาน มีเสียงรบกวนช่วงเตรียมสอบ

วิธีป้องกัน ไม่ให้เสียงเข้าบ้านเบื้องต้น?

ใช้วัสดุดูดซับเสียง ติดตั้งเฟอร์นิเจอร์แบบบิวท์อิน ปิดช่องโหว่ไม่ให้เสียงเข้ามา วางเตียงนอนและโต๊ะทำงาน ให้ห่างจากผนัง หรือมุมห้อง รวมไปถึงการปลูกต้นไม้รอบบ้าน

อีกทั้งยังต้องเร่งสรรหาสำนักงานสอบบัญชีที่มีความเป็นอิสระและน่าเชื่อถือเพื่อตรวจสอบพิเศษสำหรับรายการที่เกี่ยวข้องกันนั้น ซึ่งการตรวจสอบรายการระหว่างกันอาจจะตรวจสอบยาก แต่ถึงอย่างไรก็ต้องตรวจสอบให้ถูกต้อง

เสียงดังขนาดไหน ถึงผิดกฎหมาย ?

เมื่อวัดจากค่าเฉลี่ย ระดับเสียงทั้งวัน จะต้องไม่เกิน 70 เดซิเบล ถ้าเพื่อนบ้านส่งเสียงดังเกินกว่า 70 เดซิเบลแล้ว สามารถร้องไปยัง กรมควบคุมมลพิษทางเสียงที่สำนักงานเขต หรืออำเภอ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ มาจัดการต่อไป

ข้างบ้านเสียงดัง กฎหมายช่วยอะไรได้บ้าง ?

เจ้าบ้านสามารถเข้าแจ้งเจ้าหน้าที่ ให้ระงับตักเตือนได้ แต่ถ้าตักเตือนแล้ว ยังทำเสียงดังอยู่ ก็สามารถดำเนินการทางกฎหมายได้ ( พระราชบัญญัติการสาธารณะสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 25 , 26)

ศาลสามารถออกคำสั่ง ให้เพื่อนบ้านหยุดพฤติกรรมเสียงดังได้ และเพื่อนบ้าน ก็ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากเกิดความเสียหาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421 )

ผู้ที่ส่งเสียงดัง โดยไม่สมควร และทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 370)

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?