7 มาตรการเยียวยาระยะ 2 สำหรับผู้ประกอบการ

11 มีนาคม 2565

 

1. สินเชื่อรายย่อยไม่เกิน 3 ล้านบาท / ราย

เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ ด้านธุรกิจทัวร์ ธุรกิจสปา ธุรกิจขนส่ง (รถทัวร์ รถตู้ รถบัส รถแท็กซี่ เรือนำเที่ยว รถเช่า) บริษัทนำเที่ยว โรงแรม ห้องพัก และร้านอาหาร

–  ให้สินเชื่อต่อราย ไม่เกิน 3 ล้านบาท

–  ดอกเบี้ย 3% สำหรับ 2 ปีแรก

–  ระยะเวลากู้ยืมสูงสุด 5 ปี

–  รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563

 

2. เลื่อนการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

โดยเลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังนี้

–  ภ.ง.ด. 50 จากเดิม พฤษภาคม 2563 ออกไปเป็น ภายใน 31 สิงหาคม 2563

–  ภ.ง.ด. 51 จากเดิม สิงหาคม 2563 ออกไปเป็น ภายใน 30 กันยายน 2563

 

3. เลื่อนการเสียภาษีสรรพากร

เพื่อเป็นการลดภาระในการจัดทำเอกสารและการเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ โดยเลื่อนเวลาการยื่นแบบแสดงรายการนำส่ง และชำระภาษี เช่น VAT ภาษีธุรกิจเฉพาะ

–  ยื่นแบบและชำรถะภาษีทุกประเภทไป 1 เดือน

–  ผู้ประกอบการที่ต้องปิดสถานประกอบการตามคำสั่งของทางราชการ

–  ผู้ประกอบการอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบ

–  กระทรวงการคลังจะพิจารณาเป็นรายกรณี

 

4. เลื่อนการเสียภาษีสรรพสามิต

เพื่อบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้ประกอบกิจการสถานบันเทิงสถานบริการ ได้แก่ ไนต์คลับ ผับ บาร์ ค็อกเทล เลาจน์ รวมถึงสถานที่ที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดจนกิจการเสี่ยงโชคประเภทสนามแข่งม้า และสนามกอล์ฟ

–  เป็นสถานบริการที่ได้รับผลกระทบจากการให้ปิดสถานที่เนื่องจากมีคนแออัด เบียดเสียด เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด เป็นการชั่วคราว

–  ให้ยื่นแบบรายการและชำระภาษีภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2563

 

5. เลื่อนการเสียภาษีสรรพสามิต

เพื่อบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน

–  ยื่นแบบและชำระภาษี จากเดิม ภายใน 10 วัน เป็น ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

–  ระยะเวลา 3 เดือน (เมษายน ถึง มิถุนายน 2563)

 

6. ยกเว้นอากรขาเข้าสินค้า

ซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน COVID-19 เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น

–  เป็นรายการที่กระทรวงสาธารณะประกาศกำหนด

–  มีผลบังคับใช้ จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 (ระยะเวลา 6 เดือน)

 

7. ยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียม

เพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เจ้าของหนี้ บัตรเครดิตสินเชื่อบุคคล สินเชื่อรายยย่อยเพื่อการประกอบอาชีพเช่าซื้อ และเจ้าหน้าที่อื่นที่ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ร่วมกับสถาบันการเงิน

–  ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาละภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ลูกหนี้สำหรับการเงินได้ที่ได้จากการปลดหนี้ขงเจ้าหนี้

–  ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอาการแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้จากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการใช้บริการ

–  ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564

ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และห้องชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

–  กรมที่ดินจะดำเนินการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าว ร้อยละ 0.01

–  ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564

 

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

อบรมฟรี “รวมหลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์ทางบัญชีและภาษีในช่วงสถานการณ์ Covid-19”

กับธรรมนิติ Virtual Training การอบรมรูปแบบออนไลน์ผ่าน Facebook live
ในวันอังคารที่ 7 เมษายน 2563 เริ่มตั้งแต่ 10.00 – 12.00 น.

พบคำตอบที่นี่ ❗️ ที่เดียว ❗️

• งบการเงินขยายเวลายื่นหรือไม่?
• กฎหมายภาษีอะไรบ้างที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงไวรัสระบาด
• หลักเกณฑ์การหักภาษี ณ ที่จ่าย 1.5% จะเข้าเงื่อนไขหักต้องปฏิบัติอย่างไร
• พร้อมสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรของกรมสรรพากรและกรมพัฒนาธุรกิจการค้าล่าสุด

ลงทะเบียนอบรมฟรี!! คลิกเลย https://bit.ly/2QZsDPd

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?