ความผิดต่อแผ่นดิน VS ความผิดต่อส่วนตัว

21 กุมภาพันธ์ 2565

ความผิดต่อแผ่นดิน VS ความผิดต่อส่วนตัว

คดีอาญา

คดีที่เกี่ยวกับความผิดและมีโทษซึ่งกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่น ๆ ที่มีโทษทางอาญามีอยู่ 5 ประการ คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน
โดยคดีอาญาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1.ความผิดต่อแผ่นดิน เช่น คดีลักทรัพย์ คดีฉ้อโกงประชาชน เป็นต้น

2.ความผิดต่อส่วนตัว เช่น คดียักยอกทรัพย์ คดีฉ้อโกง เป็นต้น

 

ความผิดอาญาแผ่นดิน

คือความผิดที่กระทำแล้วมีผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำโดยตรงและมีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ดังนั้นรัฐจึงต้องดำเนินการเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แม้ผู้ถูกกระทำนั้นจะไม่ติดใจเอาความหรือดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดแล้วก็ตาม

 

ความผิดต่อส่วนตัว
ความผิดต่อส่วนตัว หรือ ความผิดอันยอมความได้ คือ ความผิดที่กระทำแล้วมีผลกระทบต่อผู้ที่ถูกกระทำโดยตรงเท่านั้นไม่กระทบต่อสังคมโดยรวม ดังนั้นผู้ที่ถูกกระทำไม่ติดใจเอาความหรือดำเนินคดีกับผู้กระทำ รัฐก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด

 

หลักการพิจารณาความผิด
ความผิดอันยอมความได้ควรมีลักษณะ ดังนี้
1.เป็นความผิดที่มีความเป็นอาชญากรรมน้อย
2.เป็นความผิดที่มีคุณธรรมทางกฎหมาย ที่เป็นเรื่องส่วนตัว ที่พึงเคารพในเจตจำนงของผู้เสียหาย หรือมีคุณธรรมทางกฑหมายที่เป็นเรื่องส่วนตัวโดยแท้
3.เป็นความประสงค์จะคุ้มครองผู้เสียหายอย่างแท้จริง

 

ผลในทางกฎหมาย
“ความผิดอาญาแผ่นดิน” และ “ความผิดต่อส่วนตัว” มีผลในกฎหมาย ดังนี้
การเริ่มต้นและการฟ้องคดี
การเริ่มต้นและการฟ้องคดี ตาม ป.วิ. อาญา มาตรา 28 ได้กำหนดให้ผู้ที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญา ได้แก่ พนักงานอัยการผ็เสียหาย

 

ผลต่อการดำเนินคดี
“ความผิดอาญาแผ่นดิน” และ “ความผิดต่อส่วนตัว” มีผลต่อการดำเนินคดี ดังนี้
1.การยอมความ หากเป็นความผิดต่อแผ่นดินจะไม่สามารถยอมความได้ หรือไม่สามารถยุติคดีได้ด้วยการที่สองฝ่ายมาเจรจาผ่อนปรนต่อกัน ไม่ว่าผู้เสียหายจะว่าอย่างไร ก็ต้องมีการสอบสวนเพื่อส่งให้อัยการฟ้องคดี หรือหากผู้เสียหายจะฟ้องคดีเองก็สามารถดำเนินการได้เต็มที่
2.ความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้นั้น หากมีการยอมความกันแล้ว ผู้เสียหายไม่เอาเรื่องแล้ว อำนาจในการสอบสวนสิทธิในการดำเนินคดีของผู้เสียหายและอัยการจะหมดไปทันที

 

อายุความ

คดีอาญาทุกประเภทล้วนมีอายุความในการดำเนินคดีแตกต่างกันโดยยึดตามอัตราโทษอย่างสูงของความผิดนั้น แต่หากเป็นความผิดต่อส่วนตัว จะมีอายุความในคดีความผิดส่วนตัว หากผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์หรือดำเนินคดี ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้ถึงการกระทำผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีนั้นเป็นอันขาดอายุความ

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?