แต่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ก็สามารถถอนได้

ผู้จัดการมรดกตั้งได้ก็ถอนได้

เมื่อมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ต้องทำอยางไร ?

ผู้จัดการมรดก มีหน้าที่ ในการจัดการกองมรดก ให้เป็นไปตามพินัยกรรม หรือแบ่งมรดกตามหลักกฎหมายทั่วไป

หากไม่ปฏิบัติหน้าที่ / ทำให้ทายาทเสียสิทธิในการรับมรดก เช่น

•  ปิดบังจำนวนทรัพย์มรดก

•  เบียดบังมรดกมาเป็นของตน

•  เพิกเฉยไม่แบ่งมรดกให้แก่ทายาท

•  ปิดบังจำนวนทายาทที่แท้จริง

•  ขายทรัพย์ได้ในราคาต่ำเกินควร

•  โอนมรดกให้ตนเองคนเดียว

ทายาท/ผู้มีส่วนได้เสีย สามารถร้องต่อศาลเพื่อขอถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่ได้

แต่ศาลจะสั่งถอนผู้จัดการมรดกหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล

หมายเหตุ : การร้องถอนผู้จัดการมรดก ไม่เหมือนกับ การฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดก 

เงื่อนไขการร้องขอถอนผู้จัดการมรดก 

ผู้ร้องขอให้ต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์

ผู้มีส่วนได้เสีย คือ ผู้ที่ได้รับประโยชน์เกี่ยวกับมรดกนั้นตั้งแต่เจ้ามรดกตาย ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นทายาทหรือไม่ก็ตาม เช่น

•  ทายาทที่มีสิทธิ / ผู้รับมรดกตามพินัยกรรม

•  ผู้สืบสิทธิจากทายาท (กรณีที่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกถึงแก่ความตายเสียก่อนได้รับส่วนแบ่งมรดก)

•  ผู้รับมรดกแทนที่

•  เจ้าหนี้กองมรดกที่ไม่มีทายาท

•  สามีหรือภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน

•  ผู้มีกรรมสิทธิ์รวม

ร้องขอก่อนที่การแบ่งมรดกจะเสร็จสิ้น

เมื่อการปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว จะขอให้ถอนผู้จัดการมรดกไม่ได้ข้ออ้างที่ว่าการแบ่งปันทรัพย์มรดกไม่ชอบไม่อาจถือได้ว่าการปันมรดกยังไม่เสร็จสิ้น

Tag

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?