เรื่องควรรู้! สิทธิประโยชน์ประกันสังคมมาตรา 40

22 พฤศจิกายน 2564

 

ปัจจุบันผู้คนทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกหันมาประกอบอาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนซ์ มากขึ้น ด้วยเพราะความมีอิสระในการทำงาน การคิดและตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง รวมถึงการบริหารจัดการและสร้างรายได้ที่สามารถทำได้มากกว่างานประจำบางงาน แต่ในความอิสระนั้นก็อาจต้องแลกมาด้วยการไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน หากไม่เข้าสู่ระบบประกันสังคมในมาตร 40

ประกันสังคมมาตรา 40 มีประโยชน์อย่างไร ให้สิทธิประโยชน์อะไรกับผู้ประกันตนบ้าง และต้องจ่ายเท่าไรเพื่อแลกกับความคุ้มครองที่คุ้มค่ามากที่สุด วันนี้เรามาหาคำตอบกัน

 

รู้จักประกันสังคมมาตรา 40

ประกันสังคมมาตรา 40 เป็นประกันสังคมที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมกลุ่มแรงงานนอกระบบ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ เกษตรกร พ่อค้า แม่ค้า พนักงานอิสระ

คุณสมบัติผู้ประกันตนตามมาตรา 40

  • บุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
  • เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือกลุ่มแรงงานนอกระบบ
  • ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39
  • ไม่เป็นข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือผู้ที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม
  • ผู้พิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม

 

ความคุ้มครองสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 40

จากสถานการณ์โควิด-19 ได้มีประกาศลดเงินสมทบให้ผู้ประกันมาตรา 40 โดยจ่ายเงินสมบท 60% จากยอดปกติ เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 – มกราคม 2565

โดยผู้ที่จะเข้าประกันตนสามารถเลือกรูปแบบเงินสมทบที่ต้องจ่ายเป็นรายเดือนทุกเดือน 3 ทางเลือก ซึ่งจะมีสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองแตกต่างกัน

 

ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบเดือนละ 70 บาท (ลดเหลือ 42 บาท)

จะได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานความคุ้มครองใน 3 กรณี


1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ดังนี้

  • ผู้ป่วยใน ที่นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป รับ วันละ 300 บาท
  • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) แต่มีใบรับรองแพทย์ระบุให้หยุดพักรักษาตัว 3 วันขึ้นไป รับ วันละ 200 บาท
    ***เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 30 วัน/ปี
  • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) และไม่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว หรือให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน จะได้รับเงินทดแทนครั้งละ 50 บาท (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง)


2. กรณีทุพพลภาพ
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ดังนี้

  • รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน จำนวน 500-1,000 บาท (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) เป็นระยะเวลา 15 ปี
  • เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพจำนวน 25,000 บาท


3. กรณีเสียชีวิต
ได้รับเงินค่าทำศพดังนี้

  • ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ จำนวน 25,000 บาท
  • หากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่มอีก 8,000 บาท

 

ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบเดือนละ 100 บาท (ลดเหลือ 60 บาท)

จะได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานความคุ้มครองใน 4 กรณี


1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ดังนี้

  • ผู้ป่วยใน ที่นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป รับ วันละ 300 บาท
  • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) แต่มีใบรับรองแพทย์ระบุให้หยุดพักรักษาตัว 3 วันขึ้นไป รับ วันละ 200 บาท
    ***เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 30 วัน/ปี
  • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) และไม่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว หรือให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน จะได้รับเงินทดแทนครั้งละ 50 บาท (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง)


2. กรณีทุพพลภาพ
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ดังนี้

  • รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน จำนวน 500-1,000 บาท (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) เป็นระยะเวลา 15 ปี
  • เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพจำนวน 25,000 บาท


3. กรณีเสียชีวิต
ได้รับเงินค่าทำศพดังนี้

  • ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ จำนวน 25,000 บาท
  • หากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่มอีก 8,000 บาท


4. กรณีชราภาพ
ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล ดังนี้

  • สะสมเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินออม) จากเงินสมทบ เดือนละ 50 บาท (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน)
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้อีกไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท

 

ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบเดือนละ 300 บาท (ลดเหลือ 180 บาท)

จะได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานความคุ้มครองใน 5 กรณี


1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ดังนี้

  • ผู้ป่วยใน ที่นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป รับ วันละ 300 บาท
  • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) แต่มีใบรับรองแพทย์ระบุให้หยุดพักรักษาตัว 3 วันขึ้นไป รับ วันละ 200 บาท
    ***เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 90 วัน/ปี


2. กรณีทุพพลภาพ
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ดังนี้

  • รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน จำนวน 500-1,000 บาท (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) เป็นระยะเวลา ตลอดชีพ
  • เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพจำนวน 50,000 บาท


3. กรณีเสียชีวิต
ได้รับเงินค่าทำศพดังนี้

  • ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ จำนวน 50,000 บาท


4. กรณีชราภาพ
ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล ดังนี้

  • สะสมเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินออม) จากเงินสมทบ เดือนละ 150 บาท (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน)
  • จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม 10,000 บาท
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้อีกไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท


5.
กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน

  • ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์ คนละ 200 บาท (คราวละไม่เกิน 2 คน)

ประกันสังคมมาตรา 40 คือทางเลือกของการสร้างหลักประกันและความคุ้มครองในการทำงานสำหรับกลุ่มอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ และคนทำงานที่ไม่ได้อยู่ในความคุ้มครองใดๆ ซึ่งหากสมัครและอยู่ในความคุ้มครองนี้แล้วก็ช่วยให้อุ่นใจเมื่อเจ็บป่วยเมื่อมีบุตร เมื่อชราภาพ หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต คนข้างหลังก็ยังมีสิทธิ์ได้รับค่าทดแทน

 

ข้อมูลอ้างอิง

www.sso.go.th

www.labour.go.th

Tag

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?