ผู้จัดการมรดกโกง ฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกได้หรือไม่ มีอายุความเท่าไหร่?

08 พฤศจิกายน 2565

ผู้จัดการมรดกโกง ฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกได้หรือไม่ ?

• ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการทรัพย์มรดก/แบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้เสียชีวิตให้กับทายาท (มาตรา 1719 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

• หากผู้จัดการมรดกไม่ปฏิบัติหน้าที่/ไม่แบ่งทรัพย์มรดกให้กับทายาทโดยชอบธรรม เช่น การผัดผ่อนการแบ่งทรัพย์มรดก การปฏิเสธการแบ่งทรัพย์มรดก เป็นต้น

• การกระทำของผู้จัดการมรดก ถือเป็นการกระทำผิดในหน้าที่ผู้จัดการมรดก และเป็นการโต้แย้งสิทธิในการได้รับมรดกของทายาทโดยชอบธรรม/ผู้มีสิทธิได้รับมรดก

ดังนั้น ทายาทโดยชอบธรรม/ผู้มีสิทธิได้รับมรดก ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับมรดก ฟ้องผู้จัดการมรดกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้

(มาตรา 55 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง)

 

การฟ้องคดีขอแบ่งทรัพย์มรดกมีอายุความหรือไม่

แบ่งเป็น 3 กรณี ดังนี้ (มาตรา 1754 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

1.ทายาทโดยธรรม ฟ้องเรียกทรัพย์มรดก ภายใน 1 ปี นับจากเจ้ามรดกตาย/ทายาทโดยธรรมได้รู้/ ควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

2. ผู้รับพินัยกรรม ฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม ภายใน 1 ปี นับแต่ผู้รับพินัยกรรมรู้/ควรได้รู้ถึงสิทธิที่ตนมีอยู่ตามพินัยกรรม

3. เจ้าหนี้ของเจ้ามรดก ฟ้องเรียกหนี้ ถ้าอายุความสิทธิเรียกร้องนั้นยาวกว่า 1 ปี เจ้าหนี้ต้องฟ้อง ภายใน 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

สิทธิเรียกร้องทั้ง 3 กรณี เมื่อพ้นระยะเวลาไปแล้ว 10 ปีนับตั้งแต่ เจ้ามรดกเสียชีวิตไม่สามารถยื่นฟ้องได้

อยากแต่งตั้งผู้จัดการมรดก หากผู้จัดการมรดกไม่แบ่งทรัพย์มรดก ฟ้องคดีได้หรือไม่

 

สนใจสอบถาม คุณกัญทิมา หุมากรณ์

โทรศัพท์ 02-596-0500 ต่อ 327 , 061-418-1112

บริการที่ปรึกษาคดี อรรถคดีมรดก พินัยกรรม

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?