3 ความรับผิดและบทลงโทษลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน

3 ความรับผิดและบทลงโทษลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน

เมื่อลูกจ้างทำผิด ใครว่ากฎหมายคุ้มครองแค่ลูกจ้างเสมอไป? ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นการละเมิด ขัดคำสั่ง หรือกระทำผิดกฎหมาย นายจ้างมีสิทธิเรียกร้องและดำเนินการตามกฎหมายได้ถึง 3 ทาง ทั้งทางแพ่ง อาญา และทางวินัย แต่ละแนวทางมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และข้อควรระวังที่นายจ้างควรรู้ เพื่อดำเนินการได้อย่างถูกต้องและไม่เสี่ยงโดนฟ้องกลับ

อ่านสรุปชัด ๆ ในคอนเทนต์นี้ ก่อนที่เรื่องเล็กจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในองค์กร

3 ความรับผิดของลูกจ้าง

เมื่อเกิดความเสียหายจากการกระทำของลูกจ้าง นายจ้างมีสิทธิเรียกร้อง 3 ด้าน ได้แก่

(1) ความรับผิดทางแพ่ง

(2) ความรับผิดทางอาญา

(3) ความรับผิดทางวินัย

อาจเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งหรือทั้ง 3 ทาง ขึ้นอยู่กับระดับความผิดและความเห็นสมควรของนายจ้าง

ความรับผิดทางแพ่ง

กรณีความผิด : ลูกจ้างทำผิดสัญญาจ้างหรือกระทำละเมิด ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เช่น พนักงานคลังสินค้าเบียดบังเอาทรัพย์สินไปขาย

มาตรการลงโทษ : นายจ้างสามารถฟ้องร้องต่อศาลแรงงาน เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย รวมถึงเรียกคืนทรัพย์สินหรือเรียกค่าทดแทนเป็นมูลค่าแทนทรัพย์สินนั้น

ความรับผิดทางอาญา

กรณีความผิด : กระทำความผิดตามกฎหมายอาญา เช่น ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกง ทำให้เสียทรัพย์

มาตรการลงโทษ : แจ้งความดำเนินคดีอาญาต่อพนักงานสอบสวนภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้น คดีจะขาดอายุความ

ความรับผิดทางวินัย

กรณีความผิด : ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง

มาตรการลงโทษ :

• ตักเตือนด้วยวาจา ตักเตือนเป็นหนังสือ

• ตัดค่าจ้าง

• พักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง

• เลิกจ้าง

 

อ่านบทความนี้เพิ่มเติมในวารสาร HR Society ฉบับมิถุนายน 2568

3 ความรับผิดและบทลงโทษลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน

อ่านบทความอื่นๆ
ลูกจ้างต้องรู้ สิทธิประโยชน์และค่าชดเชย ที่ควรได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง
ลูกจ้างหมิ่นประมาทนายจ้างแบบไหน เข้าข่ายมีความผิดทางกฎหมาย 
ทิศทางตลาด และการสร้างแรงงานสัมพันธ์ นายจ้าง-ลูกจ้าง ในองค์กร 

Copyright ©2025  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?