ก่อนจะเข้าสู่โต๊ะเจรจา ไม่ว่าจะเป็นการทำสัญญาจ้าง งานพาร์ทเนอร์ หรือโครงการร่วมทุน การเตรียมตัวด้วยคำถามที่ถูกต้อง คือหัวใจของการรักษาผลประโยชน์และลดความเสี่ยงที่จะตามมา บทความนี้ชวนคุณย้อนกลับไปตั้งต้นให้ชัด ด้วย 5 คำถามสำคัญ ที่ไม่ใช่แค่ช่วยให้มองเห็นภาพรวมของข้อตกลง แต่ยังช่วยให้การเจรจาแม่นยำ เป็นระบบ และรอบคอบมากขึ้น พร้อมแนวคิดในการใช้คำถามเหล่านี้ เพื่อวางแผนต่อรองอย่างมีกลยุทธ์ และร่างสัญญาให้ครอบคลุมทุกความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
5 คำถามสำคัญในการเจรจาธุรกิจ
(1) What is Context and Who is the Stakeholder ?
ทำความเข้าใจบริบท จุดประสงค์ และผู้มีส่วนได้เสียในสัญญา รวมถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย เพื่อระบุว่าใครเป็นเจ้าของความเสี่ยง (Risk0Owner)0นำข้อมูลมาใช้เป็นพื้นฐานในการเจรจาต่อรอง ตลอดจนวางแผนโอนความรับผิดไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการจัดทำ สัญญาแบบ Back-to-Back อย่างเหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
(2) Who you are ?
ระบุบทบาทของตนเองในสัญญาให้ชัดเจน เพื่อตรวจสอบสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นฝ่าย “ผู้รับจ้าง” หรือฝ่าย “ผู้ว่าจ้าง” เพราะแต่ละบทบาทมีผลต่อการกำหนดข้อตกลง และเงื่อนไขในสัญญาที่แตกต่างกัน จะช่วยให้ผู้ประกอบการรักษาผลประโยชน์ของตัวเองไว้ได้
(3) Why ?
จัดลำดับของข้อกำหนดที่ต้องการเจรจา พิจารณาจากเหตุผลและความจำเป็นของการทำสัญญา ซึ่งมีผลต่ออำนาจในการต่อรอง โดยแยกเป็นประเด็นสำคัญที่ไม่สามารถยอมรับได้ (Dealbreaker) และข้ออื่นๆ พร้อมทั้งประเมินว่าเงื่อนไขหรือภาระในสัญญาสามารถส่งต่อให้ Stakeholders อื่นได้หรือไม่ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
(4) What are you doing ?
พิจารณาและกำหนดให้ละเอียดว่ากำลังจะสร้างความสัมพันธ์แบบใดกับคู่ค้า โดยไม่ยึดติดกับชื่อสัญญา แต่ให้ระบุหน้าที่และความรับผิดชอบ (Action Items) ให้ชัดเจนในสัญญา ซึ่งแต่ละระดับมีรายละเอียดและขอบเขตความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน
(5) What are the expected output ?
• กำหนดให้ชัดเจนว่า “ความต่างตอบแทน” ที่ผู้ประกอบการในฐานะคู่สัญญาจะต้องส่งมอบหรือจะได้รับคืออะไร
• กำหนดเงื่อนไขการส่งมอบ และผลในกรณีที่การส่งมอบดังกล่าวไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้
อ่านบทความนี้เพิ่มเติมใน เอกสารภาษีอากร ฉบับเดือนมิถุนายน 2568
พร้อมบทความที่น่าสนใจ โดยนักเขียนผู้เชี่ยวชาญกว่า 20 ท่าน
อ่านบทความอื่นๆ
บทบาทการวางยุทธศาสตร์ด้านการค้าของกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
NDA (Non-Disclosure Agreement) ข้อตกลงรักษาความลับคืออะไร
แนวทางการยกระดับ คุณภาพแรงงานไทย รุ่นใหม่สู่สากล