ภาษีที่เกี่ยวข้องกับกรณีเช่ารถยนต์

08 ธันวาคม 2565

สำหรับกิจการใดที่ตัดปัญหาเรื่องการดูแล ค่าเสื่อม หรือเรื่องทางด้านบัญชีและการจัดการต่างๆ นั้น ด้วยวิธีการเช่ารถยนต์ ราไปดูกันดีกว่าว่ามีภาษีและวิธีคิดอย่างไรบ้าง

สำหรับกิจการใดที่ตัดปัญหาเรื่องการดูแล ค่าเสื่อม หรือเรื่องทางด้านบัญชีและการจัดการต่างๆ นั้น ด้วยวิธีการเช่ารถยนต์ ซึ่งค่าเช่านั้นจะเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ แต่ถึงอย่างไรก็มีภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเช่ารถยนต์นี้ด้วยนะครับ เราไปดูกันดีกว่าว่ามีภาษีและวิธีคิดอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้ดำเนินการวางแผนให้เหมาะสมกับการใช้งานและกิจการกันนะครับ

การเช่ารถยนต์เพื่อใช้ในกิจการ มีข้อดี ดังนี้

1.กิจการไม่ต้องรับภาระดอกเบี้ย และค่าใช้จ่าย ในการประกันภัย
2.กิจการไม่ต้องเสียค่าซ่อมบำรุงหรือตรวจเช็ค สภาพรถยนต์ตลอดอายุการใช้งาน
3.กิจการไม่ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่เพื่อซื้อรถยนต์

 

ภาษีที่เกี่ยวข้องกรณีเช่ารถยนต์

1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเช่ารถยนต์เพื่อใช้ในกิจการ

ภาษีรถยนต์

 

*ผู้เช่าต้องทำหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงินทุกครั้ง
ที่มีการจ่ายเงินและนำส่งภาษีภายใน 7 วันของเดือนถัดไป

ตัวอย่าง บริษัท ก.เช่ารถยนต์เพื่อใช้ในกิจการ เดือนละ 10,000 บาท
ต้องหัก ณ ที่จ่าย 10,000 x 5% = 500 บาท

2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเช่ารถยนต์เพื่อใช้ในกิจการ

เฉพาะค่าเช่ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของกิจการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินคันละ 36,000 บาทต่อเดือน

 

3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเช่ารถยนต์เพื่อใช้ในกิจการ

  • ภาษีซื้อที่เกิดจากการเช่าทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
  • แตกต่างจากการซื้อรถยนต์มาเพื่อให้เช่าหรือขายในกิจการ ที่สามารถนำภาษีซื้อนั้นมาหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้

4.อากรแสตมป์
ในการทำสัญญาเช่ารถยนต์ ผู้ให้เช่าต้องเป็นผู้เสีย ค่าอากรแสตมป์ในอัตราร้อยละ 0.1 ของค่าเช่านั้น

5.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กรณีบุคคลธรรมดาเป็นผู้ให้เช่ารถยนต์

เมื่อมีการคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายได้ ดังนี้

– กรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่ารถยนต์ หักค่าใช้จ่ายได้ 30%

– กรณีให้เช่าช่วง หักค่าใช้จ่ายได้เฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้เช่าช่วง

 

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?