หลักเกณฑ์ในการจ้างงานคนพิการ ที่กฎหมายกำหนดไว้

คุณสมบัติคนพิการที่สถานประกอบการจะรับเข้าทำงาน

ต้องเป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ เนื่องจากต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการประกอบการรายงานผลการจ้างงานแก่กรมการจัดหางาน

เงื่อนไขการจ้างงานคนพิการ

สถานประกอบการทั้งเอกชนและหน่วยงานของรัฐ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คน ขึ้นไป

ต้องรับคนพิการที่สามารถทำงานทำงานได้ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดเข้าทำงาน

สัดส่วนของการรับคือ ลูกจ้างที่ไม่ใช่คนพิการ 100 คน ต่อลูกจ้างคนพิการ 1 คน เศษของ 100 ถ้าเกิน 50 คน ต้องรับลูกจ้างคนพิการเพิ่มขึ้นอีก 1 คน เช่น มีลูกจ้าง 151 คน ก็ต้องจ้างคนพิการ 2 คน

  • โดยการนับจำนวนลูกจ้างให้นับทุกวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี สถานประกอบการที่มีหน่วยงาน หรือสำนักงานสาขาให้นับรวมลูกจ้างของทุกแห่งเข้าด้วยกัน

จำนวนพนักงาน จำนวนพนักงานคนพิการ
1-99 0
100-149 1
151-200 2

สถานประกอบการถ้าไม่รับคนพิการจะต้องดำเนินการอย่างไร ?

ต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปี ซึ่งเงินที่นำส่งก็คำนวณจากอัตราค่าจ้างต่ำสุดของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย คูณด้วย 365 และคูณด้วยจำนวนคนพิการที่ไม่รับเข้าทำงาน

กรณีไม่นำส่งเงินเข้ากองทุนฯ ส่งล่าช้า หรือ ส่งไม่ครบถ้วน

ต้องเสียต้องเบี้ย 7.5 ต่อปีของเงินที่ยังไม่ได้นำส่ง 

ทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่จ้างงานคนพิการ และไม่นำเงินส่งกองทุน

สามารถสัมปทาน หรือมีการส่งเสริมอาชีพ ซึ่งมูลค่าของสัญญาต้องไม่น้อยว่า 119,720 บาทต่อปี

แบ่งเป็น 7 ประเภทสิทธิ ได้แก่

–  การให้สัมปทาน

–  จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ

–  จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือ จ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ

–  ฝึกงาน

–  จัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก

–  ล่ามภาษามือ

–  การให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ

  *โดยต้องขออนุญาตจากกรมการจัดหางานก่อนดำเนินการ 

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

จ้างงานคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ :

ยกเว้นภาษีได้ 2 เท่า ของรายจ่ายเนื่องจากการจ้างงานคนพิการ

ยกเว้นภาษีได้ 3 เท่า จ้างงานคนพิการเกินกว่า ร้อยละ 60 ของจำนวนพนักงานทั้งหมด และจ้างเกิน 180 วันในปีภาษี หรือระยะเวลาบัญชีที่มีรายได้

ส่งเงินเข้ากองทุน :

ยกเว้นภาษีเท่าจำนวนที่ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

จัดสัมปทาน ส่งเสริมอาชีพ :

ยกเว้นภาษีเท่ากับที่มีค่าใช้จ่าย(เฉพาะบางประเภท)

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?