เมื่อโลกกำหนดมาตรฐานใหม่ให้ธุรกิจใหญ่ต้อง “จ่ายภาษีขั้นต่ำ” อย่างเลี่ยงไม่ได้ พ.ร.ก. ภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567 คือก้าวสำคัญของไทยในการร่วมขบวน Global Minimum Tax ภายใต้กรอบของ OECD ซึ่งกระทบตรงต่อกลุ่ม MNEs ทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงสิทธิประโยชน์จาก BOI ที่อาจต้องปรับเกมให้ทัน กฎหมายนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่คือสัญญาณเตือนให้ผู้ประกอบการเริ่มขยับ ก่อนเสียเปรียบในสนามแข่งขันใหม่ของโลกธุรกิจ
พ.ร.ก. ภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567
จัดทำขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการภาษีขั้นต่ำทั่วโลก (Global Minimum Tax) ตามที่องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) กำหนดให้นิติบุคคลข้ามชาติขนาดใหญ่ต้องเสียภาษีในอัตราไม่น้อยกว่า 15% เพื่อป้องกันการโยกย้ายกำไรไปยังประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ และรักษาสิทธิของประเทศไทยในการจัดเก็บภาษี
มีผลต่อบริษัทข้ามชาติ
พ.ร.ก. ฉบับนี้ใช้บังคับเฉพาะนิติบุคคลข้ามชาติขนาดใหญ่ (Multinational Enterprises : MNEs) ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ทั้งกลุ่ม MNEs สัญชาติไทยที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือกลุ่ม MNEs ต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทย
โดยต้องมีรายได้รวมตามงบการเงินของบริษัทแม่ลำดับสูงสุด ไม่ต่ำกว่า 750 ล้านยูโร อย่างน้อย 2 ใน 4 รอบระยะเวลาบัญชีก่อนหน้า
ผลกระทบต่อสิทธิยกเว้นภาษี BOI
บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะได้รับผลกระทบจากกฎหมายฉบับใหม่นี้
สำนักงาน BOI ได้ออกประกาศให้บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน สามารถเลือกเปลี่ยนสิทธิจาก “การยกเว้นภาษี” เป็น “การลดหย่อนภาษี” ร้อยละ 50 ของอัตราปกติ พร้อมทั้งขยายเวลาการได้รับสิทธิประโยชน์ออกไป
ผู้ประกอบการควรเตรียมพร้อม
กลุ่มบริษัท MNEs ของไทยและ MNEs ต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทย ควรเตรียมพร้อมดังนี้:
• ติดตามความคืบหน้าของกฎหมายลำดับรองที่จะจัดทำขึ้นตามมาตรฐาน OECD
• เตรียมพร้อมสำหรับการยื่นแบบฯ การชำระภาษี ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
• อบรม ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และติดตามข่าวกรมสรรพากร
อ่านบทความนี้เพิ่มเติมใน เอกสารภาษีอากร ฉบับเดือนเมษายน 2568
พร้อมบทความที่น่าสนใจ โดยนักเขียนผู้เชี่ยวชาญกว่า 20 ท่าน
อ่านบทความอื่นๆ
เงินได้ของชาวต่างชาติ เสียภาษีอย่างไร ?
บทลงโทษ ไม่ยื่นแบบ-ชำระภาษี
การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับผู้ประกอบการ