สัญญาแฟรนไชส์และภาระภาษีที่ผู้ประกอบการต้องรู้

23 กุมภาพันธ์ 2565

 

แฟรนไชส์

เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อใช้ในการขยายสาขารูปแบบหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

แฟรนไชส์เซอร์ = เจ้าของธุรกิจ

แฟรนไชส์ซี = ผู้มีสิทธิใช้ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายทางการค้า

ประกอบธุรกิจภายใต้รูปแบบและมาตรฐานของ “แฟรนไชส์เซอร์”

ฟรนไชส์ซีโดยการทำ “สัญญาแฟรนไชส์” เป็นตัวกำหนดสิทธิ และหน้าที่ของทั้ง 2 ฝ่าย

ภาระภาษีของสัญญาแฟรนไชส์

แบ่งภาระภาษีตามประมวลรัษฎากรได้ ดังนี้

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

• กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นแฟรนไชส์เซอร์

แฟรนไชส์เซอร์

ต้องนำเงินได้หรือค่าตอบแทนที่ได้รับตามสัญญาแฟรนไชส์มารวม คำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ในอัตรา 20 % ของกำไรสุทธิ

สูตรคำนวณ

รายได้ทางภาษี – รายจ่ายทางภาษี = กำไรสุทธิ

• กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นแฟรนไชส์ซี

1. ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ คือ ค่าตอบแทนเริ่มต้นสัญญา หรือค่าตอบแทนแรกเข้า ถือเป็นรายจ่ายที่เป็นการลงทุน

ใช้แฟรนไชส์ได้ ไม่จำกัดเวลา

หักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา รอบระยะเวลาบัญชีละไม่เกิน 10 %

ใช้แฟรนไชส์ได้แต่จำกัดเวลา

หักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา รอบระยะเวลาบัญชีละไม่เกิน 100 % (หารจำนวนปีอายุการใช้ แฟรนไชส์)

• กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นแฟรนไชส์ซี

1. ค่าสิทธิ คือค่าตอบแทนต่อเนื่องที่กำหนดจ่ายเป็นรายเดือน/รายปีจะจ่ายตามเปอร์เซ็นต์ของยอดขายหรือรายได้ ซึ่งค่าตอบแทนนี้สามารถนำไปคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีได้

2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

• กรณีจ่ายเงินได้ตามสัญญาแฟรนไชส์ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย

ผู้จ่ายเงินได้

มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15%ของเงินได้ที่จ่ายตามมาตรา 70 (ประมวลรัษฎากร)

• กรณีบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินได้ตามสัญญาแฟรนไชส์ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย (ไม่รวมมูลนิธิหรือสมาคม)

ผู้จ่ายเงินได้

มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 3% ของเงินที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส (ประมวลรัษฎากร)

• กรณีบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินได้ตามสัญญาแฟรนไชส์ให้มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้

ผู้จ่ายเงินได้

มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 3% ของเงินที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส (ประมวลรัษฎากร)

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

• กรณีแฟรนไชส์เซอร์อยู่ในประเทศไทย

มีรายได้เกินกว่า1,800,000 / ปี

มีหน้าที่จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บในอัตรา 7% จาก “แฟรนไชส์ซี” (ผู้รับบริการ)

• กรณีแฟรนไชส์เซอร์อยู่ต่างประเทศ ให้แฟรนไชส์แก่แฟรนไชส์ซี (ผู้รับบริการ) เพื่อประกอบกิจการแฟรนไชส์ในประเทศไทย

แฟรนไชส์ซี(ผู้รับบริการ)

มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7%ตามมาตรา 83/6 (ประมวลรัษฎากร)

tag

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?