สิทธิของผู้ประกอบการ เมื่อจดทะเบียน “ภาษีมูลค่าเพิ่ม”

29 ธันวาคม 2565

1. ออกใบกำกับภาษี

แม้จะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว แต่สิทธิในการ ออกใบกำกับภาษีได้โดยชอบตามกฎหมาย ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยจึงจะมีสิทธิในการออกใบกำกับภาษี

2. เรียกเก็บภาษีขาย

เมื่อมีสิทธิตามกฎหมายในการออกใบกำกับภาษีสำหรับ การขายสินค้าหรือการให้บริการที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนก็มีสิทธิเรียกเก็บภาษีขายจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการได้

3. หักภาษีซื้อออกจากภาษีขาย

ภาษีซื้อที่จะนำมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเป็นภาษีซื้อสำหรับระยะเวลาตั้งแต่ที่ผู้ประกอบการได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไปเท่านั้น

4. ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ในเดือนภาษีที่มียอดภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้

5. เสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 0

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลเพิ่มให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกิจการตามมาตรา 80/1

(1) การส่งออกสินค้าที่มิใช่การส่งออกสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (3)
(2) การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อธิบดีกำหนด
(3) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเลที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล
(4) การขายสินค้าหรือการให้บริการให้แก่ องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล เป็นต้น ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(5) การขายสินค้าหรือให้บริการระหว่างคลังสินค้า ทัณฑ์บน/ ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการที่อยู่ในเขตปลอดอากร/ คลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?