ขับรถชนสุนัขบนถนน ใครรับผิดชอบ?

27 ตุลาคม 2565

เรื่องที่คนใช้รถใช้ถนนต้องระวังเป็นพิเศษเมื่อขับรถ โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชน คือการมีสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงชาวบ้านวิ่งตัดหน้ารถ หรือเดินเพ่นพ่านบนถนน ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนสุนัขขึ้นมา ก็เป็นปัญหาถกเถียงกันว่าใครผิด หรือใครต้องรับผิดชอบกับความเสียหายต่างๆ วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบพร้อมๆ กัน

กฎหมายที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุขับรถชนสัตว์เลี้ยง

ในทางกฎหมายถือว่าบุตรเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของมารดาอยู่แล้ว แต่จะเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของบิดาหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าบิดามารดาได้มีการจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่ หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แม้จะอยู่กินกันนานแค่ไหน ก็ยังถือว่าเป็นบุตรนอกกฎหมายของบิดา และบิดาก็เป็นบิดานอกกฎหมายของบุตรด้วย

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 111

ห้ามมิให้ผู้ใดขี่จูงไล่ตอนหรือปล่อยสัตว์ไปบนทาง ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรและไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอ → หากฝ่าฝืนอาจต้องรับโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ตามมาตรา 148

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433

ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ เจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหาย เพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแก่สัตว์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยง การรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์ หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น

กรณีต่างๆ ของอุบัติเหตุขับรถชนสุนัข หรือสัตว์เลี้ยงบนถนน

1. ขับรถชนสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงอื่นที่ไม่มีเจ้าของ

• ขับรถบนถนนหรือทางเดินรถ แล้วชนสุนัข หรือสัตว์อื่นๆ ที่วิ่งตัดหน้ารถ โดยไม่มีเจ้าของ หรือไม่สามารถระบุตัวเจ้าของ
• สัตว์บาดเจ็บและรถยนต์ได้รับความเสียหาย
• หากเจ้าของรถยนต์ทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ไว้ ก็สามารถเคลมค่าเสียหายต่างๆ ได้ทั้งหมด
• หากไม่ได้ทำประกันรถยนต์ชั้น 1 หรือที่ความคุ้มครองครอบคลุมกรณีนี้ไว้ เจ้าของรถต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ เอง

2. ขับรถชนสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงอื่นที่มีเจ้าของ

• ขับรถชนสุนัข หรือสัตว์อื่นๆ ที่วิ่งตัดหน้ารถบนถนน และเป็นสัตว์มีเจ้าของ
• ทำให้สุนัขได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต และรถยนต์ก็เกิดความเสียหาย
• เจ้าของสัตว์ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมด ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 111
• หากเจ้าของสัตว์ไม่รับผิดชอบ สามารถนำหลักฐานเกี่ยวกับอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ภาพถ่าย หรือภาพจากกล้องหน้ารถ ไปแจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวัน แล้วนำใบแจ้งความยื่นเคลมประกันรถยนต์ได้ (กรณีประกันชั้น 1 เท่านั้น)

3. ขับรถชนสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงอื่นนอกทางเดินรถ หรือบนถนนส่วนบุคคล

• หากขับรถบนถนนส่วนบุคคล หรือพื้นที่ส่วนบุคคล หรือในบริเวณบ้านพักอาศัย ซึ่งอยู่นอกทางเดินรถ แล้วเฉี่ยวชนสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงโดยไม่ได้ตั้งใจ
• สุนัขหรือสัตว์เลี้ยงบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต และรถยนต์ก็ได้รับความเสียหาย
• เจ้าของรถถือว่ามีความผิด ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายเอง และต้องชดใช้ค่าเสียหายให้เจ้าของสัตว์ด้วย
• ***เพราะถือว่าเจ้าของสัตว์ได้ระมัดระวังการอุบัติเหตุกับสัตว์เลี้ยงแล้ว แต่ผู้ขับรถไม่ระวัง และขับรถเข้าพื้นที่ของสัตว์จนเกิดความเสียหายเอง***

4. กรณีที่ตั้งใจขับรถชนสุนัขหรือสัตว์อื่นๆ

• หากเจ้าของรถตั้งใจขับรถชนสุนัข หรือสัตว์อื่นๆ และมีหลักฐานว่าเจตนาขับรถชนสัตว์ตัวนั้น
• ถึงแม้รถยนต์จะเสียหายก็ตาม เจ้าของรถถือว่ามีความผิดตาม พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 โดยระบุโทษจำคุก 2 ปี หรือปรับ 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่ทำให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงเสียทรัพย์ มีค่าปรับ 1,000 บาท

แน่นอนว่าความเสียหายทั้งกับรถและสัตว์เลี้ยง เป็นเรื่องที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น ดังนั้นผู้ขับขี่รถเองควรใช้ความระมัดระวังและลดความเร็วเมื่อขับรถผ่านพื้นที่ชุมชน รวมทั้งเจ้าของสัตว์เลี้ยงก็ควรดูแลระมัดระวังไม่ให้สัตว์เลี้ยงออกไปเพ่นพ่านตามท้องถนน เพื่อลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุและความเสียหายต่างๆ

 

อ้างอิงข้อมูล

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

สำนักงานกิจการยุติธรรม

Tag

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?