การจ้างแรงงาน กับ จ้างทำของ ต่างกันอย่างไร!

21 เมษายน 2565

การจ้างแรงงาน จ้างทำของ นั้นมีความต่างกัน
ดังนั้นจะมาเป็นการจ้างเหมือนกันไม่ได้!
มาทำความเข้าใจความต่างของ 2 ลักษณะนี้กันครับ

 

เรื่อง


จ้างแรงงาน


จ้างทำของ


ชื่อเรียกตามกฎหมาย นายจ้าง – ลูกจ้าง ผู้ว่าจ้าง – ผู้รับจ้าง
กฎหมายที่ใช้บังคับ ประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ /
กฎหมายแรงงาน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ลักษณะการทำงาน ทำงานตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น 1 วัน / 1 เดือน ทำงานเพื่อให้งานเสร็จเป็นชิ้นๆ
การกำหนดค่าจ้าง/สินจ้าง กำหนดตามระยะเวลา กำหนดตามชิ้นงาน
การจ่ายค่าจ้าง/สินจ้าง นายจ้างต้องจ่ายให้ตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้าง
ทำงานให้
ผู้ว่าจ้างจะจ่ายเมื่อผู้รับจ้างส่งมอบงาน
ตามที่ตกลงกัน
อำนาจบังคับบัญชา นายจ้างมีอำนาจควบคุม ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจควบคุม
สถานะของลูกจ้าง/ผู้รับจ้าง ลูกจ้างต้องเป็น
บุคคลธรรมดา
ผู้รับจ้างเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
ความสิ้นสุดของสัญญา จนกว่าจะมีการ
บอกเลิกจ้าง
จนกว่างานที่ตกลงกัน
จะสำเร็จ
ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
ในงานที่จ้าง
นายจ้างต้องรับผิด
ร่วมกับลูกจ้าง
ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับผู้รับจ้าง
ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ม.40(1) เงินได้ที่ได้จากการจ้างแรงงาน ม.40(2) เงินได้ที่ได้
จากการรับทำงานให้
หรือการจ้างทำของ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เงินที่ได้จากการ
จ้างแรงงานได้รับยกเว้น VAT
เงินที่ได้จากการ
จ้างทำของต้องเสีย VAT
ในส่วนที่เกิน 1,800,000 บาท/ปียกเว้น การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการบริษัท / กรรมการตามกฎหมาย
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย นายจ้างหัก ผู้ว่าจ้างหัก
อากรแสตมป์ ไม่ต้องติดบนสัญญา ต้องติดบนสัญญา

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?