ภาษี TAX ที่ยูทูปเบอร์ คอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องรู้

10 ธันวาคม 2567

ปัจจุบันประเทศไทยมีชาวต่างชาติเข้ามาทำ You Tube หรือ รีวิวสินค้าใน TikTok และมีรายได้เกิดขึ้นในไทยมากมาย แต่อาจไม่รู้ว่า หากมีรายได้เกิดขึ้นในไทยต้องเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร?

กฎหมายเกี่ยวกับภาษี TAX ที่ยูทูปเบอร์ คอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องรู้

การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 เกินเวลา หมายถึง การส่งแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด. 51) ไปยังกรมสรรพากรหลังจากกำหนดส่งที่กฎหมายกำหนดไว้ การกระทำดังกล่าวถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายภาษีและอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้ประกอบการหลายประการ

มาตรา 41 ประมวลรัษฎากร กำหนดว่า ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือ กิจการที่ทำในประเทศไทย หรือ เนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือ เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้น จะจ่ายในหรือ นอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทยมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษี ที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากเจ้าหน้าที่งาน หรือ กิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่ง หรือ หลายช่วงระยะเวลาทั้งหมดถึง 180 วัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย

ดังนั้นการที่ชาวต่างชาติเข้ามาทำ You Tube มารับจ้างรีวิวสินค้าในไทย ถือว่ามีรายได้ตามมาตรา 40 จากหน้าที่การงาน หรือ กิจการที่ทำในไทย หากได้รับเป็นค่ารีวิวสินค้าหรือการโชว์ตัวตามงานต่างๆ ถือเป็นเงินได้ 40 (2) ซึ่งคำนวณภาษีแบบอัตราก้าวหน้า คือ
Tax Youtuber Content Creator
เช่น หากมีรายได้จากการรีวิวสินค้า 2,000,000 บาท จะเสียภาษีอยู่ที่อัตรา 25 %

หากได้รับส่วนแบ่งจากค่าโฆษณา หรือ ขายสินค้าทางออนไลน์ ที่เป็นสินค้าของตนเอง หรือ งาน Event พรีเซนเตอร์ ที่มีการแสดงร่วมด้วย ถือเป็นเงินได้ 40(8) โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง หรือ อัตราเหมา เช่น

ส่วนแบ่งจากค่าโฆษณาหักค่าใช้จ่ายตามจริง

ขายสินค้าออนไลน์
• ไม่ได้เป็นผู้ผลิต หักอัตราเหมา 60%
• เป็นผู้ผลิตหักตามจริง

งาน Event พรีเซนเตอร์ ที่มีการแสดงร่วมด้วย
• เงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท หักอัตราเหมา 60 %
• เงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท หักอัตราเหมา 40% การหักค่าใช้จ่าย ตาม (1) และ (2) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท

ดังนั้นจะเห็นว่าถ้ารับเงินได้ในนามบุคคลธรรมดา จะเสียภาษีเยอะมากแต่ทั้งนี้ ต้องดูอนุสัญญาภาษีซ้อน (DTA) แต่ละประเทศด้วย

ส่วนใหญ่จึงเห็นว่าชาวต่างชาติที่มีรายได้ดังกล่าว นิยมจดบริษัทในไทย เพื่อจะช่วยลดภาระภาษีลงได้ เพราะหากรับเงินในนามบริษัท ก็จะเสียภาษีสิ้นปีอยู่ที่ 20

การเสียภาษีสำหรับการจ่ายเงินได้ให้ชาวต่างชาติที่เข้ามาและไม่ได้เข้ามาทำงานในไทย

• Update การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ใหม่ กรณีมีเงินได้จากต่างประเทศเข้ามาในไทยต้องเสียภาษี
• หลักการจัดเก็บภาษีของชาวต่างชาติ
• การคำนวณภาษีของพนักงานชาวต่างชาติและการใช้อนุสัญญาภาษีซ้อน
• การให้สวัสดิการพนักงานกับชาวต่างชาติแตกต่างจากพนักงานทั่วไป มีผลกับการเสียภาษีอย่างไร
• การขอหนังสือรับรองการเสียภาษีให้ชาวต่างชาติ
• การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีของชาวต่างชาติ
• บทกำหนดโทษ กรณีไม่ยื่นแบบ ยื่นไม่ครบ หรือ เสียภาษีไม่ถูกต้อง

การทำคอนเทนต์บนโลกออนไลน์เป็นอาชีพที่น่าสนใจ แต่ก็มาพร้อมกับภาระภาษีที่ต้องรับผิดชอบ การทำความเข้าใจกฎหมายภาษีจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้คุณสามารถบริหารจัดการรายได้และธุรกิจของคุณได้อย่างราบรื่น

สำรองที่นั่ง www.dst.co.th โทร 02-555-0700 กด 1

ดูข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับเงินได้และภาษีชาวต่างชาติ
เงินได้ของชาวต่างชาติ เสียภาษีอย่างไร ?

Copyright ©2025  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?