ขายของออนไลน์ อย่าลืมยื่น “ภาษี”

28 ตุลาคม 2565

 

เมื่อวิถีพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์กลายเป็นอาชีพยอดฮิต แต่อย่าขายเพลินจนลืมว่า  “รายได้” จาก “การขายของออนไลน์” ก็ถือเป็น “เงินได้” ที่ต้องมีการ “ยื่นภาษี” และ “เสียภาษี” ให้ถูกต้องในกรณีที่รายได้ถึงเกณฑ์ที่ “สรรพากร”  กันด้วยนะครับ

 

ขายของออนไลน์รายได้เท่าไรต้อง “ยื่นภาษี”

สำหรับบุคคลธรรมดาที่ต้องยื่นภาษีเมื่อมีรายได้ดังนี้ คือ

สำหรับคนโสด : – มีเงินได้ประเภทอื่นนอกจากเงินเดือน เกิน 60,000 บาท (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90)

สำหรับผู้ที่มีคู่สมรส :- มีเงินได้ประเภทอื่นนอกจากเงินเดือน ไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้ง 2 ฝ่ายรวมกัน เกิน 120,000 บาท (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90)

 

เลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ

สำหรับแม่ค้าที่ค้าขายในรูปแบบของบุคคลธรรมดา รายได้หรือเงินได้จากการขายของออนไลน์ ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร สามารถเลือก “หักค่าใช้จ่าย” ได้ 2 แบบ คือ

1. แบบหักตามจริง เหมาะกับผู้ค้าออนไลน์ที่มีต้นทุนสูงในการขายสินค้า

2. แบบเหมา 60% เหมาะกับผู้ค้าออนไลน์ที่มีกำไรเยอะ (ต้องประกอบกิจการที่อยู่ในประเภทเงินได้ที่กำหนดไว้)

 

ขายของออนไลน์ยื่นภาษี 2 รอบ

รอบแรก : “ยื่นภาษีครึ่งปี”  : ยื่นภาษีโดยนำเงินได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. มาแสดงในการยื่นภาษีตามแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.94 ภายในวันที่ 1 ก.ค. – 30 ก.ย. ในปีเดียวกัน สำหรับในปี 2564 นี้ กรมสรรพากรขยายเวลายื่น ภ.ง.ด.94 แบบออนไลน์ ออกไปจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2564

รอบที่ 2 : “ยื่นภาษีปลายปี”  : ยื่นภาษีโดยนำเงินได้ทั้งปี มากรอกในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.90 ภายในวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. ของปีถัดไป เช่น เงินได้ปี 2564 ต้องยื่นภายใน มี.ค.2565

 

ความผิดเมื่อชำระภาษีไม่ถูกต้อง

• กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระ นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี

• กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบออกหมายเรียก และปรากฏว่ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป นอกจากจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มแล้ว ยังจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี

• กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.94 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท

• กรณีจงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 ถึง 200,000 บาท

• กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

รายได้ถึง 1.8 ล้านต้องดำเนินการอย่างไร

หากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องจดทะเบียน “ภาษีมูลค่าเพิ่ม”  ด้วยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รายรับเกิน มิฉะนั้นจะมีโทษต้องเสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษี ตลอดระยะเวลาที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว หรือเป็นเงิน 1,000 บาทต่อเดือนภาษี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า

 

จากคอลัมน์ Tax Tips  เรื่อง ขายของออนไลน์ พ่อค้าแม่ค้าอย่าลืมเรื่อง “ภาษี” (วารสารเอกสารภาษีอากร ฉบับเดือน พฤศจิกายน 2564)

สั่งซื้อฉบับนี้ ราคา 220 บาท คลิก

สนใจสมัครสมาชิก รับวารสาร 12 ฉบับ/ปี (เฉลี่ย 192.-/ฉบับ) ได้ที่ คลิก 

สิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิกวารสารเอกสารภาษีอากร :

  1. รับหนังสือประมวลรัษฎากร ฉบับสมบูรณ์ ปีละ 1 เล่ม (มูลค่า 500 บาท)
  2. รับสิทธิใช้ฟรี e-Magazine Index & Audio Book (อ่าน สืบค้นข้อมูลบทความด้านบัญชีภาษีในวารสารได้)
  3. รับส่วนลดในการอบรมสัมมนาของบริษัท ฝึกอบรมและสัมมนาธรรมนิติ จำกัด คลิก
  4. รับสิทธิเข้าสัมมนาพิเศษฟรี ปีละ 2 ครั้ง
  5. รับส่วนลดในการซื้อหนังสือของธรรมนิติ คลิก
  6. รับส่วนลดในการลงประกาศหนังสือพิมพ์ข่าวผู้ถือหุ้น คลิก 

 

 

tag

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?