เปิด “ร่าง พ.ร.ฎ. กำกับควบคุมแพลตฟอร์มดิจิทัลฯ” รู้ก่อน เตรียมตัวก่อน

ในปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และบริการต่างๆ นั้นเป็นไปได้ง่ายขึ้น ด้วยผู้ประกอบการหันมาให้สื่ออนไลน์หรือแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ เพื่อตอบสนองการใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และง่ายขึ้น แต่ในความสะดวกและง่ายนี้อาจนำพาความเสียหายมาให้ประชาชนผู้ใช้บริการ หากไม่มีกฎหมายหรือหน่วยงานที่จะเข้ามาควบคุมดูแล จึงเป็นที่มาของ ร่างพระราชกฤษฎีกาควบคุมดูแล ธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลฯ ซึ่งจะมีรายละเอียดหรือข้อบังคับอย่างไรที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติ และเป็นประโยชน์กับใครบ้างนั้น ลองไปติดตามกัน

คำว่า “บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล” ในกฎหมายนี้ หมายถึงอะไร ?

1.  การให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในลักษณะที่เป็นสื่อกลาง

2.  มีพื้นที่ให้ผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มดิจิทัลและผู้บริโภคเชื่อมต่อกัน โดยการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์

ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มแต่เพียงผู้เดียว (E-tailer) จะไม่อยู่ภายใต้การกำกับของกฎหมายนี้ เช่น Brand.com แต่ถ้ามีการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ โดยให้บุคคลภายนอกสามารถเป็นผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มได้ ก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายนี้

กฎหมายฉบับนี้กำหนดหน้าที่อะไรบ้าง?

กฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นการควบคุมดูแลผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยกำหนดหน้าที่หลักๆ ดังนี้

   •  หน้าที่ในการแจ้งให้ ETDA ทราบก่อนการประกอบธุรกิจ

   •  หน้าที่เพิ่มเติม

   •  ที่มีลักษณะหรือประเภทตามที่ ETDA ประกาศกำหนด ในการแจ้งข้อมูลที่จำเป็นให้ผู้ใช้บริการทราบอย่างชัดเจนก่อนหรือขณะใช้บริการ

   •  ขนาดใหญ่หรือที่มีลักษณะเฉพาะ ตามประกาศของ ETDA โดยความเห็นชอบของ คธอ.

ใครบ้างได้รับประโยชน์จากกฎหมายนี้?

 1.  ประชาชน

   •  มีมาตรการที่ดีในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการ

   •  ได้รับบริการจากบริการที่มีมาตรฐาน โปร่งใส และเป็นธรรม

   •  ได้รับทราบข้อมูลที่จำเป็น เพื่อความเป็นธรรม

   •  เชื่อมั่นในการใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น

   •  กรณีที่เกิดปัญหา ผู้ใช้บริการมีข้อมูลเพียงพอในการติดต่อกับบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ได้แจ้งให้ ETDA ทราบ

 2.  ผู้ประกอบธุรกิจ

   •  มีความชัดเจนในการดำเนินธุรกิจและปฏิบัติตามกฎหมาย

   •  บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีลักษณะหรือประเภทของการให้บริการที่เหมือนกัน อยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน

   •  การประกอบธุรกิจและการดำเนินธุรกิจมีความน่าเชื่อถือ

   •  ผู้ใช้บริการเกิดความเชื่อมั่นในการใช้บริการบนบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลของผู้ประกอบธุรกิจมากขึ้น

 3.  หน่วยงานภาครัฐ

   •  มีกลไกที่ใช้ดูแลเพื่อลดความเสี่ยงในการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล

   •  เสริมสร้างความรู้ และความเข้าใจของหน่วยงานภาครัฐเกี่ยวกับรูปแบบและการดำเนินธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล (มีเวทีในการหารือกับ Stakeholders) เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีร่วมกัน

   •  กระตุ้นและขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้เติบโตในภาพรวม เมื่อประชาชนมีความเชื่อมั่นในการใช้บริการบนบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล

   •  มีตัวแทนของผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศในการติดต่อประสานงานหรือขอข้อมูล

กฎหมายนี้เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการต่างประเทศหรือไม่?

 1.  การบังคับใช้กฎหมายระหว่างผู้ประกอบธุรกิจไทยกับต่างประเทศ

   •  ผู้ประกอบธุรกิจไม่ว่าจะอยู่ในไทยหรือต่างประเทศ หากมีวัตถุประสงค์ในการให้บริการผู้บริโภคในไทย จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เดียวกันตามที่กฎหมายนี้กำหนด

   •  กำหนดให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่อยู่นอกราชอาณาจักรต้องมีการแต่งตั้งตัวแทนในไทย

 2.  การกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ต่างประเทศแต่งตั้งตัวแทนในไทย

   •  เพื่อให้มีช่องทางในการติดต่อประสานงานกับผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างประเทศ ในการปฏิบัติตามกฎหมายนี้

   •  เป็นการกำหนดให้แต่งตั้งตัวแทนในไทยที่ได้รับมอบอำนาจให้กระทำการแทนโดยไม่จำกัดความรับผิดเกี่ยวกับการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลตามกฎหมายนี้

กฎหมายมีผลกับผู้ประกอบธุรกิจที่ทำธุรกิจก่อนที่กฎหมายฉบับนี้ จะบังคับใช้หรือไม่?

ผู้ประกอบธุรกิจยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แต่จะต้องดำเนินการตามที่ร่างกฎหมายฉบับนี้กำหนด ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีผลใช้บังคับ

มีระยะเวลาในการเตรียมความพร้อมเมื่อพ้น 180 วัน นับแต่วันที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา + 30 เป็น 210 วัน และหากผู้ประกอบธุรกิจต้องการที่จะประกอบธุรกิจต่อไป จะต้องแจ้งให้ ETDA ทราบภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?