ไม่รู้ไม่ได้! ผ่าตัดอวัยวะจากร่างกายผู้ที่ยังมีชีวิต แม้เป็นการบริจาคและเจ้าของยินยอม ก็ผิดกฎหมาย

ไม่รู้ไม่ได้! ผ่าตัดอวัยวะจากร่างกายผู้ที่ยังมีชีวิต แม้เป็นการบริจาคและเจ้าของยินยอม ก็ผิดกฎหมาย

การบริจาคอวัยวะเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้อื่นเป็นเรื่องที่ดีและน่ายกย่อง แต่การบริจาคอวัยวะนั้น ต้องเป็นไปภายใต้กฎหมาย และขั้นตอนทางการแพทย์ เพื่อป้องกันการซื้อขายอวัยวะนั่นเอง ซึ่งการผ่าตัดอวัยวะจากร่างกายผู้ที่มีชีวิต แม้เป็นการบริจาคและเจ้าของยินยอมก็ผิดกฎหมาย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น มาหาคำตอบไปพร้อมกันในบทความนี้

การบริจาคอวัยวะคืออะไร?

การบริจาคอวัยวะ คือการที่บุคคลยอมให้อวัยวะของตัวเองถูกถอดออกจากร่างกาย แล้วปลูกถ่ายให้แก่บุคคลอื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย

การบริจาคอวัยวะแตกต่างกับการบริจาคร่างกายอย่างไร? 

• การบริจาคอวัยวะ เป็นการนำอวัยวะไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยที่กำลังต้องการอวัยวะนั้น

• การบริจาคร่างกาย คือ บริจาคร่างกายเพื่อไปเป็นอาจารย์ใหญ่สำหรับการเรียนของนักศึกษาแพทย์ หรือแพทย์ฝึกหัด

อวัยวะที่สามารถบริจาคได้มีอะไรบ้าง?

อวัยวะที่สามารถบริจาคได้ คือ หัวใจ ลิ้นหัวใจ ปอด ตับ ไต ดวงตา โดยอวัยวะที่จะนำไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยมาจาก 2 กรณีเท่านั้น

1) ผู้บริจาคเสียชีวิตด้วยภาวะสมองตาย ซึ่งในทางการแพทย์ถือว่าเป็นผู้เสียชีวิต

2) ผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่ตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา คือ ผู้บริจาคและผู้รับต้องเป็นญาติทางสายเลือด หรือสามี ภรรยา กันเท่านั้น

 

***ข้อยกเว้น : การบริจาคอวัยวะที่สามารถทำได้ขณะยังมีชีวิตอยู่คือ การบริจาคไต ซึ่งสามารถบริจาคได้ 1 ข้าง

ในประเทศไทยมีการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2515 แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะบังคับใช้โดยตรง การบริจาคและเปลี่ยนถ่ายอวัยวะที่ดำเนินการในปัจจุบันใช้ข้อบังคับแพทยสภาโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2549 ซึ่งไม่ได้ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปที่บริจาค แต่เป็นมาตรการบังคับแก่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเท่านั้น

ระเบียบของสภากาชาดว่าด้วยศูนย์บริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย พ.ศ.2545 ได้สรุปเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะไว้ว่า ผู้บริจาคจะสามารถนำอวัยวะออกจากร่างกายได้ต่อเมื่อมีภาวะสมองตาย หรือเสียชีวิตเท่านั้น หากผ่าตัดอวัยวะออกจากร่างกายผู้ที่มีชีวิตอยู่ แม้เจ้าตัวจะยินยอมก็ตามถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

บทลงโทษหากผ่าตัดอวัยวะออกจากร่างกายผู้ที่ยังมีชีวิต

กรณีที่แหล่งที่มาของอวัยวะมาจากบุคคลที่ยังมีชีวิต จะถือว่ามีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา ดังต่อไปนี้

• มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

• มาตรา 297/1 ผู้ใดทำร้ายร่างกายผู้อื่น เพื่อเอาไปซึ่งอวัยวะผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 – 200,000 บาท

• มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15-20 ปี

• มาตรา 289/1 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น เพื่อเอาไปซึ้ออวัยวะของผู้นั้น ต้องระวางโทษประหารชีวิต อวัยวะตามวรรคแรก หมายความว่า อวัยวทั้งภายนอกและภายในของมนุษย์

• มาตรา 289/2 ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นเพื่อเอาไปซึ่งอวัยวะของผู้นั้นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10-20 ปี

สาเหตุกฎหมายไม่ยินยอมให้ผ่าตัดอวัยวะจากร่างกายที่ยังมีชีวิต แม้ว่าตัวเจ้าของเองจะยินยอม ก็เพื่อป้องกันขบวนการซื้อ-ขาย อวัยวะ อันเป็นปัญหาด้านศีลธรรมในการแสวงหาประโยชน์จากอวัยวะของมนุษย์เหมือนเป็นสินค้าชนิดหนี่ง ซึ่งในปัจจุบันการลักลอบซื้อ-ขายอวัยวะ เป็นปัญหาที่พบมากในหลาย ๆ ประเทศ เมื่อรู้แล้วการบริจาคอวัยวะหรือการรับบริจาคอวัยวะ ก็ควรดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

กระทรวงยุติธรรม 

Tag

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?