5 ปัญหาเพื่อนบ้านยอดฮิต กับทางออกด้านกฏหมาย

18 กุมภาพันธ์ 2565

รู้กฎหมายไว้ไม่เสียหายปัญหายอดฮิตกับเพื่อนบ้าน ที่หลายๆ คนอาจพบเจออยูบ่อยๆ ทั้ง 5 ประเด็นนี้ หากยังกังวลใจ ยังมีกฎหมายที่คุ้มครองอยู่

1.ส่วนของต้นไม้รุกล้ำที่ดิน

1.1 รากไม้

หากรากที่รุกล้ำ “ทำให้เกิดปัญหาต่อโครงสร้าง” เช่น กำแพงบ้านพัง

เจ้าของบ้านสามารถตัดเองได้ โดยไม่ต้องแจ้งเพื่อนบ้าน(เจ้าของต้นไม้)

1.2 กิ่งไม้

ก่อนตัดต้องแจ้งให้เพื่อนบ้าน(เจ้าของต้นไม้) ตัดส่วนที่รุกล้ำออกภายในระยะเวลาอันสมควรก่อน

หากแจ้งแล้วเพื่อนบ้านยังไม่ดำเนินการใดๆ สามารถตัดส่วนที่รุกล้ำเองได้ และเมื่อตัดแล้วกิ่งไม้ยังเป็นสิทธิของเจ้าของต้นไม้

(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1347 )

1.3 ต้นไม้

  • หากลำต้นอยู่ตรงแนวเขต (โดยไม่ต้องพิจารณาว่าอยู่ตรงกลางหรืออยู่ล้ำไปทางด้านใดมากกว่ากัน) ให้ถือเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินทั้ง 2 ฝ่ายร่วมกัน (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1346 )
  • ดังนั้น เมื่อตัดต้นไม้แล้ว เนื้อไม้ หรือดอกผล เป็นของทั้ง 2 ฝ่ายเท่ากัน

1.4 ดอกหรือผล

  • หากยังไม่ร่วงหล่น เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน
  • หากร่วงหล่นลงมาในที่ดินแล้ว เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินที่ถูกรุกล้ำ

*แต่ต้องเป็นการร่วงหล่นตามธรรมชาติเท่านั้น

เตือน ! หากยังไม่ร่วงหล่น แล้วไปเก็บดอกผลที่ต้นมา จะมีความผิดฐานลักทรัพย์ (ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334)

 

ทำอย่างไร? เมื่อเพื่อนบ้านอ้างว่า ไม่ได้ปลูกต้นไม้ จึงไม่ต้องรับผิด

หากเพื่อนบ้านอ้างว่าต้นไม้ที่รุกล้ำนั้นขึ้นเองตามธรรมชาติ

ไม้ยืนต้นถือเป็นส่วนควบกับที่ดิน

เจ้าของทรัพย์ย่อมมีสิทธิในส่วนควบของทรัพย์

ดังนั้น เจ้าของที่ดินถือเป็นเจ้าของต้นไม้ แม้จะไม่ได้ตั้งใจปลูกก็ตาม จึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย


2.จอดรถกีดขวาง

2.1 จอดรถกีดขวางทางเข้า-ออกหน้าบ้าน
ไม่ขวางหน้าบ้าน แต่ทำให้ผู้อื่นสัญจรไม่สะดวก

  • – ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
  • – บนทางเท้า/ บนสะพานหรือในอุโมงค์
  • – ในทางร่วมทางแยก
  • – ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
  • – ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
  • – ในเขตปลอดภัย
  • – ในลักษณะกีดขวางการจราจร

ผู้ขับขี่รถยนต์ไม่มีสิทธิที่จะจอดรถขวางทางเข้า-ออกบ้านผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เอกชน หรือ ทางสาธารณะ ดังนั้นจึงมีความผิด
ตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 55 (6)

  • – เป็นความผิดฐานก่อความเดือดร้อนรำคาญ
    ต้องโทษจำคุก ไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 397 ) โดยผู้ที่ได้รับความเสียหายจากกรณีนี้ สามารถร้องทุกข์ดำเนินคดีได้
  • – ผู้เสียหายสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งได้ (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 )

 

เตือน ! เจ้าของบ้านไม่มีสิทธิใช้กำลังทำลายรถของผู้อื่นโดยพลการหากกระทำจะมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ (ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 358)

 

2.2 การนํากรวย แผงเหล็ก เก้าอี้ หรือสิ่งใดไปตั้งขวางพื้นที่ ไว้ไม่ผู้อื่นมาจอด

หากเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล สามารถทําได้

หากเป็นที่สาธารณะ ไม่สามารถวาง ตั้ง ยื่น หรือแขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
หรือกระทำด้วยประการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรได้
(ตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 114 )

  • – เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานจราจร
    เมื่อมีเหตุอันจำเป็นและเป็นการชั่วคราวเท่านั้น
  • – ดังนั้น บุคคลใดกีดขวางทางสาธารณะ จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความ  สะดวกในการจราจร
  • – ปรับไม่เกิน 500 บาท (ตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 148 )
  • – ปรับไม่เกิน 5,000 บาท (ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 385)

3. สัตว์เลี้ยง

3.1 สัตว์เลี้ยงไปสร้างอันตราย

  • – เช่น สัตว์ไปวิ่งตัดหน้ารถจนเกิดอุบัติเหตุ หรือไล่กัด
  • – จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3.2 สัตว์เลี้ยงไปสร้างความเสียหาย

  • – กัดทรัพย์สินของคนอื่นได้รับความเสียหาย, ออกไปขับถ่าย
    ในที่สาธารณะหรือในเขตบ้านคนอื่น
  • – เจ้าของสัตว์ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่เสียหาย

3.3 สัตว์เลี้ยงไปสร้างความเสียหาย

  • – สุนัขเห่าหอนตอนดึก, เจ้าของไม่ทำความสะอาดจนส่งกลิ่นรบกวน
  • – ปรับไม่เกิน 5,000 บาท

4. ส่งเสียงดัง

4.1 หากเพื่อนบ้านส่งเสียงดังรบกวน

เช่น เปิดเพลงเสียงดัง ตั้งวงดื่มสุรา เสียงดังเอะอะโวยวาย
หรือทะเลาะวิวาทกัน
มีความผิด ดังนี้

  • – ฐานส่งเสียงหรือทำให้เกิด เสียงดังโดยไม่มีเหตุอันสมควร
    โทษปรับสูงสุด 1,000 บาท (ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 370 )
  • – ฐานก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ
    โทษปรับสูงสุด 5,000 บาท (ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 397 )

ถ้าเป็นการกระทำในที่สาธารณะ หรือต่อหน้าคนจำนวนมาก มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ


5. บดบังทัศนียภาพ

เมื่อเพื่อนบ้านได้ทำการสร้างอาคาร หรือต่อเติมสิ่งปลูกสร้าง
ที่สูงขึ้นหรือปลูกต้นสูง จนส่งผลให้ปิดกั้นทางลม แสงสว่าง และบดบังทัศนียภาพ

เป็นการกระทำละเมิด (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 )

ดังนั้น เจ้าของบ้านสามารถใช้สิทธิทางศาล
เพื่อฟ้องให้เพื่อนบ้านทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไปได้
(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1337 )


 

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?