กรณีลูกจ้าง “สูญหาย” หรือ “สาบสูญ” ไม่ใช่เรื่องไกลตัว โดยเฉพาะในภาคแรงงานที่ต้องเดินทาง หรือทำงานในพื้นที่เสี่ยง หากเหตุการณ์เลวร้ายเกิดขึ้น ทายาทหรือครอบครัวของลูกจ้างยังคงมีสิทธิเรียกร้อง “เงินทดแทน” และ “เงินบำเหน็จ” ภายใต้กฎหมายแรงงานไทย
บทความนี้สรุปให้ชัดว่า ความต่างระหว่าง “สูญหาย” กับ “สาบสูญ” คืออะไร? และสิทธิประโยชน์ที่ทายาทพึงได้รับมีอะไรบ้าง พร้อมเงื่อนไขสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
คุ้มครองไม่เลือกสัญชาติ
ไม่ว่าลูกจ้างจะเป็นคนไทย กัมพูชา ลาว หรือเมียนมา หากเป็นลูกจ้างที่อยู่ในระบบตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม และ พ.ร.บ.เงินทดแทน และขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง ย่อมได้รับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกันตามกฎหมาย ทั้งสิทธิในการรักษาพยาบาล เงินชดเชย เงินทดแทน หรือแม้แต่ในกรณีเสียชีวิต
สาบสูญ ≠ สูญหาย
คำว่า “สูญหาย” และ “สาบสูญ” มีความหมายต่างกัน แต่ทั้ง 2 กรณีถือว่าเสียชีวิตเช่นกัน ทายาทมีสิทธิขอรับสิทธิประโยชน์ได้ดังนี้
• สาบสูญ: หายจากถิ่นที่อยู่ 5 ปี (2 ปีในเหตุพิเศษ) ต้องมีคำสั่งศาล
• สูญหาย: หายระหว่างทำงาน มีเหตุอันควรเชื่อว่าเสียชีวิต รอครบ 120 วัน (ไม่ต้องมีคำสั่งศาล)
เงินบำเหน็จชราภาพ
หากลูกจ้างหายไป และศาลมีคำสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ ทายาทผู้มีสิทธิสามารถขอรับ “เงินบำเหน็จชราภาพ” ที่ผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบไว้ได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
• ต้องมีคำสั่งศาลให้เป็นบุคคลสาบสูญ
• ยื่นคำขอต่อสำนักงานประกันสังคมใน 2 ปี นับแต่ศาลมีคำสั่ง
เงินค่าทดแทนรายเดือน
หากลูกจ้างสูญหายระหว่างการทำงาน และมีเหตุอันควรเชื่อว่าเสียชีวิต ทายาทมีสิทธิขอรับ “เงินค่าทดแทนรายเดือน 70% ของค่าจ้าง” นาน 10 ปี โดยเงื่อนไข คือ
• หายไประหว่างทำงาน ปฏิบัติงานตามคำสั่งนายจ้าง หรือเดินทางไปทำงาน
• มีเหตุอันควรเชื่อว่าเสียชีวิตจากเหตุการณ์นั้น
• หายไปไม่น้อยกว่า 120 วัน นับจากวันที่เกิดเหตุ
อ่านบทความนี้เพิ่มเติมในวารสาร HR Society ฉบับมิถุนายน 2568
อ่านบทความอื่นๆ
ลูกจ้างต้องรู้ สิทธิประโยชน์และค่าชดเชย ที่ควรได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง
ความสำคัญ และสิทธิประโยชน์ ของ กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เริ่ม 1 ตุลาคม 2568
กฎหมายควรรู้ ต่อสัญญาลูกจ้างเกษียณ