กฎหมาย หลักประกันทางธุรกิจ ตอนที่ 1

กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจตอนที่ 1

อีกหนึ่งทางเลือก! สำหรับผู้ประกอบการ SMEs
ตอนที่ 1 ทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกันได้ และขั้นตอนการดำเนินการจดทะเบียน

กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ เป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการ ของการนำทรัพย์สินไปเป็นหลักประกัน ให้แก่สถาบันการเงินในรูปแบบใหม่ ต่างจากกฎหมายค้ำประกัน จำนำ และจำนอง ที่มีอยู่เดิม

สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ สามารถนำทรัพย์สินทุกชนิดมาเป็นหลักประกันได้ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทรัพย์สินที่สามารถนำมาเป็นหลักประกันได้

1. กิจการ :

– ทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ และสิทธิต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจนั้น เช่น ที่ดิน อาคาร รถยนต์ รถบรรทุก อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น
– ผู้ให้หลักประกัน อาจโอนทรัพย์สินและสิทธิต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้บุคคลอื่น โดยผู้รับโอนสามารถประกอบธุรกิจต่อได้ทันที

2. สิทธิเรียกร้อง :

– สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ และสิทธิอื่นๆ ไม่รวมสิทธิที่มีตราสาร เช่น บัญชีเงินฝากธนาคาร ลูกหนี้การค้า สิทธิในสัญญาเช่าต่างๆ

3. สังหาริมทรัพย์ที่ผู้ให้หลักประกันใช้ในการประกอบธุรกิจ :

– เช่น เครื่องจักร สินค้าคงคลัง หรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า

4. อสังหาริมทรัพย์ ในกรณีที่ผู้ให้หลักประกันประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง
5. ทรัพย์สินทางปัญญา
6. ทรัพย์สินอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ขั้นตอนดำเนินการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ

1. ผู้ให้หลักประกันตกลงทำสัญญาหลักประกันทางธุรกิจกับผู้รับหลักประกัน
2. ผู้รับหลักประกัน(ที่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้หลักประกัน)เป็นผู้ดำเนินการขอจดทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อเจ้าพนักงานทะเบียนกรมธุรกิจการค้า
3. เจ้าพนักงานทะเบียนตรวจสอบความครบถ้วนของรายการจดทะเบียนและสั่งชำระค่าธรรมเนียม
4. ผู้รับหลักประกันชำระค่าธรรมเนียม
5. เจ้าพนักงานทะเบียนมีคำสั่งรับจดทะเบียน

ขั้นตอนดำเนินการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ

1. วัน เดือน ปี และเวลาที่จดทะเบียน
2. ชื่อ และที่อยู่ ของลูกหนี้ และผู้ให้หลักประกัน
3. ชื่อ และที่อยู่ ของผู้รับหลักประกัน
4. ชื่อ และที่อยู่ ของผู้รับใบอนุญาต ซึ่งยินยอมเป็นผู้บังคับหลักประกัน และอัตรา หรือจำนวนค่าตอบแทนของผู้บังคับหลักประกัน ในกรณีที่นำกิจการมาเป็นหลักประกัน
5. หนี้ที่กำหนดให้มีการประกันการชำระ
6. รายะเอียดของทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกัน หากเป็นทรัพย์สินมีทะเบียน ให้ระบุประเภทของทะเบียน หมายเลขทะเบียน และนายทะเบียนด้วย หากเป็นสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ให้หลักประกันใช้ในการประกอบธุรกิจ ให้ระบุประเภท ชนิด ปริมาณ และมูลค่าของทรัพย์สิน
7. ข้อความที่แสดงว่า ผู้ให้หลักประกันตราทรัพย์สินที่ระบุในรายการจดทะเบียนไว้แก่รู้รับหลักประกัน เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้
8. จำนวนเงินสูงสุด ที่ตกลงใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกัน
9. เหตุบังคับหลักประกันตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ
10. รายการอื่น ตามที่เจ้าพนักงานทะเบียนกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?