5 จุดเสี่ยงถูกสรรพากรตรวจสอบกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ประกอบการต้องระวัง

 

การถูกตรวจสอบทางภาษีอากรต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ถือเป็นฝันร้ายที่ผู้ประกอบการทุกคนไม่อยากพบ การป้องกันจุดเสี่ยงต่างๆ ที่จะถูกตรวจสอบจึงช่วยลดปัญหาลงไปได้

 

จุดเสี่ยงประกอบด้วย

1. ประเด็นตามแบบแจ้งข้อความของกรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้จัดการ ท้ายแบบ ภ.ง.ด.50 จำนวน 5 ประเด็น ถือเป็นประเด็นสำคัญอันดับแรกๆ ในการตรวจสอบภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้ประกอบการ ได้แก่

(1) กิจการขายสินค้า บริการ หรือทรัพย์สิน ให้กู้ยืมเงิน หรือให้เช่าทรัพย์สิน โดยไม่มีค่าตอบแทน หรือมีแต่ต่ำกว่าราคาตลาด อันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญโดยชัดแจ้ง ทั้งนี้ ตามความในมาตรา 64 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับกิจการทั่วไป และมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับกิจการที่มีความสัมพันธ์ และมีการถ่ายโอนกำไร (Transfer Pricing)

(2) กิจการซื้อทรัพย์สิน รวมทั้งรายจ่ายเพื่อซื้อทรัพย์สินดังกล่าวและค่าบริการในราคาที่เกินปกติ อันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญโดยชัดแจ้ง ตามมาตรา 65 ตรี (15) แห่งประมวลรัษฎากร

(3) กิจการตั้งเจ้าหนี้หรือลูกหนี้โดยไม่มีตัวตน หรือมีตัวตน แต่จำนวนเกินความเป็นจริง อันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญโดยชัดแจ้ง เนื่องจากการจัดทำบัญชีไม่ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริง

(4) กิจการเกิดผลขาดทุนสุทธิติดต่อกันเกินกว่า 3 รอบระยะเวลาบัญชี แต่มีการขยายกิจการตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร

(5) การหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษี กิจการได้ดำเนินการครบถ้วนแล้วหรือไม่

 

ในเบื้องต้นหากผู้ประกอบการจัดการความเสี่ยงในประเด็นดังกล่าว โดยดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ก็จะช่วยให้ประกอบกิจการด้วยความมั่นใจทางภาษีอากรเพิ่มขึ้นได้ และคลายความกังวลต่อการถูกตรวสอบภาษีอากร รวมทั้งพร้อมรับมือกับการตรวจสอบที่อาจเกิดมีขึ้น

 

2. กรณีประมาณการกำไรสุทธิต่ำไปเกินกว่า 25% ของจำนวนกำไรสุทธิประจำรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบ ภ.ง.ด.50 ที่ได้ยื่นแบบเพิ่มเติมแล้ว

3. กรณีมีรายจ่ายที่เพิ่มจำนวนสูงมากเมื่อเทียบกับรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อน อาทิ ค่าตอบแทนกรรมการ ค่านายหน้า ค่าที่ปรึกษา ค่าซ่อมแซม

4. กรณีรายได้ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ต่ำกว่ารายได้ตามแบบ ภ.พ.30 สำหรับระยะเวลาเดียวกันโดยไม่มีการพิสูจน์

5. การรับรู้รายได้ไม่ตรงตามรอบระยะเวลาบัญชี

 

กรณีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ผู้ประกอบการมิได้หักและนำส่ง หรือหักนำส่งไว้ไม่ครบถ้วน

 

กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม อาทิ

1. แสดงภาษีขายจำนวน หรือภาษีซื้อสูงเกินไป

2. ประกอบการโดยไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

3. ใช้ใบกำกับภาษีปลอม

 

กรณีภาษีธุรกิจเฉพาะ อาทิ ดอกเบี้ยรับจากการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ การแสดงรายรับที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ครบถ้วน เพราะผู้จ่ายเงินได้ออกภาษีธุรกิจเฉพาะและค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายที่ดินแทนผู้ประกอบกิจการ

 

ประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรเพิ่มเติมโดยรวม  

1. ใช้เงินสดเป็นหลัก

2. สินค้าคงเหลือไม่ถูกต้อง

3. ไม่มีทรัพย์สินหรือมีทรัพย์สินมากเกินไป

4.  เงินกู้ยืมกรรมการมากเกินไป

5. ขาดทุนสะสมเป็นเวลานาน

6. บันทึกรายได้ไม่ถูกต้อง

7. บันทึกรายได้ไม่ครบถ้วน

8. ค่าใช้จ่ายเพิ่มรายได้ลดลง

9. ค่าใช้จ่ายสูงเมื่อเทียบรายได้ และสร้างค่าใช้จ่ายเท็จ

 

พบกับเนื้อหาที่ครบถ้วนได้ใน “เกณฑ์ความเสี่ยง” ถูกตรวจสอบภาษีจากระบบ RBA  คอลัมน์ Cover Story  (วารสารเอกสารภาษีอากร ฉบับเดือนกรกฎาคม 2564)

สนใจสมัครสมาชิก รับวารสาร 12 ฉบับ/ปี (เฉลี่ย 192.-/ฉบับ) คลิก

สิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิกวารสารเอกสารภาษีอากร :

  1. รับหนังสือประมวลรัษฎากร ฉบับสมบูรณ์ ปีละ 1 เล่ม (มูลค่า 500 บาท)
  2. รับสิทธิใช้ฟรี e-Magazine Index & Audio Book (อ่าน สืบค้นข้อมูลบทความด้านบัญชีภาษีในวารสารได้)
  3. รับส่วนลดในการอบรมสัมมนาของบริษัท ฝึกอบรมและสัมมนาธรรมนิติ จำกัด คลิก
  4. รับสิทธิเข้าสัมมนาพิเศษฟรี ปีละ 2 ครั้ง
  5. รับส่วนลดในการซื้อหนังสือของธรรมนิติ คลิก
  6. รับส่วนลดในการลงประกาศหนังสือพิมพ์ข่าวผู้ถือหุ้น คลิก

 

 

tag

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?