บัญชีกับภาษีของธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

บัญชีกับภาษีของธุรกิจ

13 มิถุนายน 2562

การทำธุรกิจในรูปแบบของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล มีผลต่อการทำบัญชีและภาษี รวมถึงเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกรูปแบบธุรกิจที่ทำควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ไว้ให้ดี

                        การทำธุรกิจในรูปแบบบุคลธรรมดา

1.ธุรกิจบุคคลธรรมดา
รูปแบบ : เป็นเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว มีอิสระในการบริหารอย่างเต็มที่ ผลกำไรที่ได้ไม่ต้องแบ่งกับใคร แต่เจ้าของต้องรับผิดชอบในการลงทุนและหนี้สินที่เกิดขึ้นเองทั้งหมด จัดตั้งง่าย ความน่าเชื่อถือน้อย
สถานะภาพ : บุคคลธรรมดา
การจัดทำบัญชีและงบการเงิน : ไม่ต้องทำ
การเสียภาษี : เสียภาษีบุคคลธรรมดาจากรายได้สุทธิ (อัตราก้าวหน้า 5-35 %)

2.ห้างหุ้นส่วนสามัญ
รูปแบบ : เป็นการตกลงร่วมหุ้นทำกิจการและแบ่งกำไรกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในการลงทุนและหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวน ส่วนการบริหารงานต้องผ่านการตกลงของหุ้นส่วนและคณะ จัดตั้งค่อนข้างง่าย ความน่าเชื่อถือน้อย
สถานะภาพ: คณะบุคคล (ไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)
การจัดทำบัญชีและงบการเงิน : ไม่ต้องทำ
การเสียภาษี : ห้างหุ้นส่วนสามัญต้องเสียภาษีเหมือนบุคคลธรรมดา ถือเป็นอีกบุคคล โดยคิดภาษีจากรายได้สุทธิ (อัตราก้าวหน้า 5-35 %) และเงินได้จากหุ้นส่วนสามัญที่หุ้นส่วนแต่คนได้รับ นับเป็นเงินได้ต้องเสียภาษีด้วย

                            การทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล

1.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
รูปแบบ : เป็นการตกลงร่วมหุ้นทำกิจการและแบ่งกำไรกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวน บริหารงานโดยหุ้นส่วนผู้จัดการ มีกระบวนการต่างๆ ในการจัดตั้งและจดทะเบียน รวมถึงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน มีความน่าเชื่อถือปานกลาง
สถานะภาพ : นิติบุคคล (ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)
การจัดทำบัญชีและงบการเงิน : ต้องจัดทำบัญชีและงบการเงิน
การเสียภาษี : เสียภาษีตามอัตราภาษีนิติบุคคล (คิดจากกำไรสุทธิ อัตราคงที่ 20 %) โดยต้องยื่นภาษีปีละ 2 ครั้งคือ ภงด.50 และ ภงด.51
หากเป็น SMEs คือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท จะได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก

2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด
รูปแบบ : เป็นการตกลงร่วมหุ้นทำกิจการและแบ่งกำไรกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป การรับผิดชอบของหุ้นส่วนมีทั้งแบบรับผิดชอบแบบจำกัดและรับผิดชอบแบบไม่จำกัด บริหารงานโดยหุ้นส่วนผู้จัดการ มีกระบวนการต่างๆ ในการจัดตั้งและจดทะเบียน รวมถึงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน มีความน่าเชื่อถือปานกลาง
สถานะภาพ : นิติบุคคล (ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)
การจัดทำบัญชีและงบการเงิน : ต้องจัดทำบัญชีและงบการเงิน
การเสียภาษี : เสียภาษีตามอัตราภาษีนิติบุคคล (คิดจากกำไรสุทธิ อัตราคงที่ 20 %) โดยต้องยื่นภาษีปีละ 2 ครั้งคือ ภงด.50 และ ภงด.51
หากเป็น SMEs คือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท จะได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก

3.บริษัทจำกัด
รูปแบบ : เป็นการลงทุนผ่านการซื้อหุ้นที่มูลค่าเท่าๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 100 คน การรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นจะจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินของมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่ บริหารงานผ่านกรรมการบริษัท มีกระบวนการต่างๆ ในการจัดตั้งและจดทะเบียนที่ค่อนข้างยุ่งยาก รวมถึงต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจดทะเบีย มีความน่าเชื่อถือค่อนข้างมาก
สถานะภาพขององค์กร : นิติบุคคล (ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)
การจัดทำบัญชีและงบการเงิน : ต้องจัดทำบัญชีและงบการเงิน
การเสียภาษี : เสียภาษีตามอัตราภาษีนิติบุคคล (คิดจากกำไรสุทธิ อัตราคงที่ 20 %) โดยต้องยื่นภาษีปีละ 2 ครั้งคือ ภงด.50 และ ภงด.51
หากเป็น SMEs คือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท จะได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก

 

เรื่อง : กองบรรณาธิการ www.dharmniti.co.th 

 

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?