ถูกกดดันให้เขียนใบลาออก เรียกร้องสิทธิ์อะไรได้บ้าง?

ถูกกดดันให้เขียนใบลาออก เรียกร้องสิทธิ์อะไรได้บ้าง?

สภาวะเศรษฐกิจอาจทำให้หลายบริษัทมีปัญหาด้านสภาพคล่องของเงินทุนหมุนเวียน นำไปสู่การลดต้นทุนไม่ว่าจะเป็นการปรับลดค่าจ้าง หรือปรับลดอัตราการจ้างงาน และการปรับลดการจ้างงานควรเป็นไปอย่างถูกวิธีคือการจ่ายเงินชดเชย เพราะหลายบริษัทอาจใช้วิธีไม่ถูกต้องนักโดยกดดันให้พนักงานลาออกเองเพื่อเลี่ยงการจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้าง แต่หากคุณคือคนหนึ่งที่ถูกกดดันให้เขียนใบลาออก จะมีวิธีเรียกร้องสิทธิ์อะไรได้บ้าง ลองตามไปดูกัน

การลาออกคืออะไร?

การลาออก คือการบอกเลิกสัญญาจ้างโดยลูกจ้าง ซึ่งเมื่อการแสดงเจตจำนงพร้อมเอกสารการลาออกต่อนายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างเป็นที่รับทราบแล้วถือว่าสัญญาจ้างงานนั้นๆ สิ้นสุดลง และไม่ได้อยู่ในสถานะนายจ้าง-ลูกจ้างอีกต่อไป

ออกจากงานแบบไหน ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชย?

การออกจากงานมีหลายกรณีทั้งที่พนักงานสมัครใจออกเอง หรืออาจถูกเลิกจ้างจากบริษัทด้วยกรณีต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการจ่ายค่าชดเชยและการรับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม โดยการออกจากงานแบบที่พนักงานจะได้รับค่าชดเชยนั้นมี 2 กรณี คือ

1) การถูกเลิกจ้าง

การถูกเลิกจ้างเป็นสถานการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิด และหากเกิดขึ้นจากการกระทำความผิดของลูกจ้าง แม้จะเป็นไปอย่างกะทันหันแต่บริษัทก็มีสิทธิ์ที่จะไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยใดๆ ให้กับพนักงาน ในทางกลับกันหากการเลิกจ้างเกิดขึ้นจากสถานการณ์บริษัทที่อาจต้องการลดค่าใช้จ่าย หรือมีเหตุให้ต้องปิดกิจการ โดยเลิกจ้างจากที่ไม่ใช่ความผิดของลูกจ้าง กรณีนี้บริษัทจะต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับลูกจ้าง ตามข้อกำหนดกฎหมายแรงงานเกี่ยวกับการเลิกจ้าง ซึ่งระบุไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ซึ่งพิจารณาอัตราค่าชดเชยตามอายุงาน

อัตราการจ่ายค่าชดเชยคำนวณตามอายุงานของลูกจ้าง

ข้อยกเว้นที่บริษัทไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง

• ลูกจ้างลาออกเองโดยสมัครใจ

• สัญญาว่าจ้างมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน และการเลิกจ้างเกิดขึ้นเพราะสิ้นสุดตามกำหนดในสัญญา

นอกจากเงินชดเชยที่ลูกจ้างจะได้รับจากนายจ้างแล้ว ยังมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง โดยสามารถยื่นเรื่องได้กับประกันสังคม ซึ่งในช่วงนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดจากโควิด-19 สามารถอ่านรายละเอียดเงินชดเชยจากประกันสังคมได้ที่ https://bit.ly/2zC7kNS

2) การลาออกจากการถูกกดดันให้เขียนใบลาออก 

การถูกบีบบังคับให้ลาออกและให้เขียนใบลาออกโดยลูกจ้างไม่ได้ยินยอมและเป็นการลาออกโดยไม่เป็นธรรม ตามกฎหมายจะถือว่าการลาออกนั้นเป็นโมฆียะ และเป็นการออกจากงานโดยการเลิกจ้าง ซึ่งนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

ถูกกดดันให้เขียนใบลาออก เรียกร้องสิทธิ์อย่างไร?

หากลูกจ้างไม่ได้รับเงินชดเชยการถูกเลิกจ้าง หรือถูกกดดันให้เขียนใบลาออกโดยไม่สมัครใจ ตามระยะเวลาที่กำหนด ก็ถือว่าเข้าข่ายการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม สามารถยื่นเรื่องร้องเรียนกับพนักงานตรวจแรงงาน ได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่/จังหวัด

สำหรับลูกจ้างแล้วหากถูกเลิกจ้าง หรือถูกบังคับให้ลาออก หากรู้แนวทางรักษาสิทธิประโยชน์ของตนเองไว้ และเตรียมพร้อมเมื่อเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น ก็จะช่วยให้มีแนวทางรักษาสิทธิประโยชน์ต่างๆ และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบทั้งที่ไม่มีความผิด

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

กระทรวงแรงงาน

Tag

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?