หากกิจการของคุณมีลูกจ้างเกิน 10 คน และยังไม่ได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำเป็นต้องเข้าร่วมกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่ โดยนายจ้างมีหน้าที่ต้องหักเงินสะสมจากค่าจ้างลูกจ้าง พร้อมจ่ายเงินสมทบในอัตราที่กำหนด รวมถึงยื่นแบบฟอร์มต่าง ๆ ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หากไม่ปฏิบัติตาม อาจมีความผิดทั้งทางแพ่ง ปกครอง และอาญา
บทความนี้ได้สรุปทุกขั้นตอนที่นายจ้างต้องดำเนินการ พร้อมอัตรา เงินสะสม-สมทบ และบทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตามเพื่อให้คุณเตรียมตัวให้พร้อม ก่อนเริ่มบังคับใช้จริง
กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเกี่ยวข้องกับนายจ้างอย่างไร ?
วัตถุประสงค์หลักของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
• กองทุนนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่ต้องออกจากงานหรือประสบเหตุฉุกเฉิน
หน้าที่ของนายจ้างเมื่อเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินสะสม และเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ.2567
• บริษัทที่มีลูกจ้างเกิน 10 คน แต่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 68
• นายจ้างจะต้องดำเนินการหักเงินสะสมจากเงินเดือนของพนักงานและจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนด
สิ่งที่นายจ้างต้องทำ เมื่อเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
• นายจ้างต้องยื่นแบบฟอร์ม ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้
– สกล. 3 (แบบแสดงรายการชื่อลูกจ้าง)
– สกล. 3/1 (สำหรับกิจการที่ไม่ได้อยู่ในบังคับ แต่ลูกจ้างต้องการที่จะสมัครเข้ากองทุน)
– สกล. 4 (ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง สำหรับกิจการที่ต้องจัดให้ลูกจ้างเป็นสมาชิกกองทุน หากมีการเปลี่ยนแปลง)
– สกล. 3/2 (แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขแบบแสดงรายชื่อลูกจ้าง)
• หักเงิน 0.25% ของค่าจ้างเป็นเงินสะสม
• สมทบเงิน 0.25% เป็นค่าจ้างของลูกจ้าง
• นำส่งเงินสะสม เงินสมทบ และ สกล. 3 ภายในวันที่ 15 หลังจากเดือนที่มีการหักเงินสะสมไว้
• แจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงชื่อบัญชีธนาคาร เลขที่บัญชี ภายใน 7 วันนับตั้งแต่ที่มีการหักเงินสะสมครั้งแรก
ความรับผิดชอบของนายจ้าง หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
• มาตรการทางแพ่ง นายจ้างไม่ส่งเงินสะสม หรือเงินสมทบ หรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลา ที่กำหนดนายจ้างจะต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละ 5 ต่อเดือน
• มาตรการทางการปกครอง พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจออกคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติให้ ถูกต้อง มีอำนาจออกหนังสือเตือน รวมทั้งมีอำนาจ มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ยึด อายัด และขายทอดตลาด ทรัพย์สินของนายจ้างที่ไม่นำส่งเงินสะสมเงินสมทบ หรือเงินเพิ่ม หรือนำส่งไม่ครบจำนวน
• มาตรการทางอาญา กรณีที่นายจ้างไม่ยื่นแบบรายการหรือไม่แจ้งเป็นหนังสือเปลี่ยนแปลงหรือ แก้ไขเพิ่มเติมรายการภายในกำหนดมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อ่านบทความอื่นๆ
อนาคตแรงงานไทย หลัง “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง” บังคับใช้ 1 ตุลาคม 2568
สาระสำคัญ กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
ความสำคัญ และสิทธิประโยชน์ ของ กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เริ่ม 1 ตุลาคม 2568