ในยุคที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เพียงเรื่องของนักอนุรักษ์ แต่กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดทิศทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนทั่วโลก “Green Accounting” หรือ “การบัญชีเพื่อความยั่งยืน” จึงกลายมาเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของธุรกิจยุคใหม่ นักบัญชีไม่ได้มีหน้าที่แค่บันทึกตัวเลขเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม พร้อมทั้งสามารถสื่อสารให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าใจได้อย่างโปร่งใสและน่าเชื่อถือ
บทความนี้จะพาไปสำรวจประเด็นสำคัญ 5 ด้าน ที่กำลังเปลี่ยนบทบาทของงานบัญชีในระดับสากล ตั้งแต่กลไกราคาคาร์บอน มาตรฐาน ESG ไปจนถึงกฎเกณฑ์ใหม่ด้านความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้คุณพร้อมปรับตัวในโลกธุรกิจที่กำลังเดินหน้าไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
Green Accounting การบัญชีกับความยั่งยืน 5 ด้าน
1. Carbon Pricing & Climate Finance
การลดก๊าซเรือนกระจกตาม Paris Agreement ทำให้หลายประเทศเริ่มนำกลไกราคาคาร์บอนมาใช้มากขึ้น หนึ่งในมาตรการสำคัญคือ CBAM ของสหภาพยุโรป ทำให้ผู้ส่งออกไทยต้องเตรียมพร้อมด้านข้อมูลและการคำนวณคาร์บอน และประเทศไทยกำลังพิจารณากฎหมายที่มีการคิดราคาคาร์บอน อีกทั้งยังมี Thailand Taxonomy เป็นมาตรฐานอ้างอิงสำหรับภาคการเงินและการลงทุน เพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2. Supply Chain Transparency & Due Diligence
ความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทานและการจัดการความเสี่ยงด้าน ESG ส่งผลให้เกิดกฎและกติการะหว่างประเทศ เช่น EUDR ที่ห้ามสินค้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า และ CSDDD ที่กำหนดให้บริษัทประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน หากธุรกิจไม่สามารถยืนยันแหล่งที่มาของวัตถุดิบอย่างโปร่งใส อาจเผชิญข้อจำกัดทางการค้าและผลกระทบต่อชื่อเสียง
3. ESG Reporting Standards & Assurance
ในปี 2023 ‘ISSB’ ออกมาตรฐานการรายงาน ESG 2 ฉบับ คือ
• IFRS S1 (การเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน)
• IFRS S2 (การเปิดเผยข้อมูลสภาพภูมิอากาศ)
ซึ่งหลายประเทศกำหนดให้บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานนี้ ขณะที่ไทยมีแผนนำมาใช้กับบริษัท SET50 ในปี 2026 นักบัญชีจึงต้องมีทักษะด้านการจัดทำและเปิดเผยข้อมูล ESG อย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ
4. Anti-Greenwashing Regulations
หลายองค์กรต้องเผชิญกับการตรวจสอบอย่างเข้มงวดขึ้น หากมีการกล่าวอ้างเรื่องความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์โดยไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลรองรับ เช่น EU Green Claims Directive ที่กำหนดให้บริษัทต้องมีข้อมูลสนับสนุนคำกล่าวอ้างทางสิ่งแวดล้อม การป้องกันปัญหานี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเพื่อตอบข้อสงสัย รวมถึงมีหลักฐานจากกระบวนการตรวจสอบข้อมูลที่รัดกุม และการเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใส
5. Biodiversity & Natural Capital Conservation
ความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรธรรมชาติสำหรับประเทศไทย มีการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับประเทศ ฉบับที่ 5 ซึ่งมีเป้าหมายบางข้อที่เชื่อมโยงกับธุรกิจ ในการเพิ่มแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ มาตรการเหล่านี้สะท้อนถึงการที่ธุรกิจต้องคำนึงถึงผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรในขั้นตอนการผลิตให้มากขึ้น
อ่านบทความนี้เพิ่มเติมใน เอกสารภาษีอากร ฉบับเดือนเมษายน 2568
พร้อมบทความที่น่าสนใจ โดยนักเขียนผู้เชี่ยวชาญกว่า 20 ท่าน
อ่านบทความอื่นๆ
การจัดทำรายงาน ESG นักบัญชีต้องรู้เรื่องใด
การวางรากฐานด้วยความยั่งยืนให้กับองค์กร
Path to Sustainability ต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนแบบ SABINA