3 ประเภทผู้ประกันตนประกันสังคม

ผุ้ประกันตนประกันสังคม

05 มิถุนายน 2562

หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินการพูดถึง ผู้ประกันตนมาตรา 33 39 40 แล้วทั้ง 3 ประเภทของผู้กันตนนั้นแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ลองมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันครับ

มาตรา 33 (บังคับ)

ได้แก่ : ลูกจ้าง “ผู้ซึ่งทํางานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง”
คุณสมบัติการขึ้นทะเบียน
1. นายจ้างที่มีลูกจ้างในกิจการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
2. ต้องเป็นลูกจ้างที่ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 4
3. ลูกจ้างต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
เงินสมทบ : ลูกจ้าง 5% ของฐานค่าจ้าง ขั้นต่ำ 1,650 บาท และขั้นสูง 15,000 บาท
สิทธิประโยชน์ : ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี
1.กรณีเจ็บป่วย
2.กรณีคลอดบุตร
3.กรณีทุพพลภาพ
4.กรณีตาย
5.กรณีสงเคราะห์บุตร
6. กรณีชราภาพ
7. กรณีว่างงาน

มาตรา 39 (สมัครใจ)
ได้แก่ : ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ
คุณสมบัติการขึ้นทะเบียน
1. เคยเป็นผู้ตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้ว
ไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน
2. ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม
เงินสมทบ : จ่ายเดือนละ 432 บาท เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน)
สิทธิประโยชน์ : ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี
1.กรณีเจ็บป่วย
2.กรณีคลอดบุตร
3.กรณีทุพพลภาพ
4.กรณีตาย
5.กรณีสงเคราะห์บุตร
6. กรณีชราภาพ ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33

มาตรา 40 (สมัครใจ)
ได้แก่ : ผู้ประกันตนนอกระบบ
คุณสมบัติการขึ้นทะเบียน
1. บุคคลทั่วไปที่มีอายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม
2. บุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม
เงินสมทบ : สามารถเลือกได้ 2 ทางเลือก
ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน (จ่ายเอง 70 บาท รัฐสนับสนุน 30 บาท)
ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 50 บาท)
สิทธิประโยชน์ : แบ่งเป็น 2 ประเภท 
ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ
1. กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย
2. กรณีทุพพลภาพ
3. กรณีตาย
ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน
1. กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย
2. กรณีทุพพลภาพ
3. กรณีตาย
4. กรณีชราภาพ (บำเหน็จ)

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?