รวมรายการลดหย่อน ภาษีบุคคลธรรมดา ปี 2561

รวมรายการลดหย่อนภาษี

18 เมษายน 2563

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2561 มีค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอะไรที่นำมาลดหย่อนภาษีได้บ้าง เชิญมาอัปเดทกันเลยครับ

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องมีการหักค่าใช้จ่ายต่างก่อน เมื่อมาหักลบแล้วจึงเหลือเป็นเงินได้สุทธิ เพื่อไปคำนวณภาษีต่อไป

สำหรับรายการลดหย่อนภาษีประกอบด้วย

  1. ค่าใช้จ่าย
  2. ค่าลดหย่อน

 

1.ค่าใช้จ่าย

 เงินพึงประเมินทั้ง 8 ประเภท (ตามมาตรา 40 (1) – (8) มีการหักค่าใช้จ่ายในอัตราแตกต่างกัน และมี 2 วิธีให้เลือกใช้

1.หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 

2.หักค่าใช้จ่ายตามจริง

 

เงินพึงประเมินทั้ง 8 ประเภท

เงินได้ประเภทที่ 1 : เงินได้จากการจ้างแรงงาน  

เงินได้ประเภทที่ 2 : เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า เบี้ยประชุม โบนัส

หักค่าใช้จ่ายเหมา 50 % แต่ไม่เกิน  100,000 บาท หากมีเงินได้ประเภท 1 และ 2 ให้นำมารวมกันแล้วหักค่าใช้จ่ายเหมา 50 % แต่เมื่อรวมแล้วไม่เกิน  100,000 บาท

 

เงินได้ประเภทที่ 3ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น

หักตามจริง หรือหักค่าใช้จ่ายเหมา 50 % แต่ไม่เกิน  100,000 บาท

 

เงินได้ประเภทที่ : ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร   เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น

หักค่าใช้จ่ายไม่ได้

 

เงินได้ประเภทที่ 5 : เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น

หักตามจริง หรือหักค่าใช้จ่ายเหมา 10 – 30 % ขึ้นอยู่ประเภททรัพย์สิน

เงินได้ประเภทที่ 6 : เงินได้จากวิชาชีพอิสระ   

หักตามจริง หรือหักค่าใช้จ่ายเหมา 30 และ 60 %

 

เงินได้ประเภทที่ : เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ 

หักตามจริง หรือหักค่าใช้จ่ายเหมา 60 %

 

เงินได้ประเภทที่ 8 : เงินอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7

หักตามจริง หรือหักค่าใช้จ่ายเหมา 40 และ 60 %

 

2.ค่าลดหย่อนและยกเว้น

หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว  ให้นำค่าลดหย่อนและยกเว้นมาหักจากเงินได้ โดยมีการลดหย่อนอยู่ดังต่อไปนี้

 

ผู้มีเงินได้และครอบครัว

1.ผู้มีเงินได้          

ลดหย่อนได้ 60,000   บาท

 

2.คู่สมรส

  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส หากไม่มีเงินได้ลดหย่อนได้ 60,000 บาท แต่ถ้ามีเงินได้ทั้งคู่ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000  บาท
  • ค่าเบี้ยประกันชีวิตคู่สมรสที่อายุกรมธรรม์ 10 ปีขึ้นไป สำหรับคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

3.บุตร

  • ค่าลดหย่อนบุตรและบุตรบุญธรรม ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยหากเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายนำมาลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวน แต่หากนำบุตรบุญธรรมมารวมลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน
  • ค่าลดหย่อนบุตรตั้งแต่คนที่ 2 ลดหย่อนเพิ่มอีก 30,000 บาท รวมเป็น 60,000 บาท
  • ค่าคลอดบุตร นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท

 

3.บิดามารดา

  • ค่าอุปการะบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส นำมาลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าต้องอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท
  • ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าต้องบิดามารดาต้องมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท  

 

4.ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ

ลดหย่อนได้คนละ 60,000   บาท

 

ค่าลดหย่อนอื่นๆ ของผู้มีเงินได้

5.ค่าเบี้ยประกันของผู้มีเงินได้

  • ค่าเบี้ยประกันชีวิตอายุกรมธรรม์ 10 ปีขึ้นไปของผู้มีเงินได้ นำลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ ค่าเบี้ยประกันสุขภาพผู้มีเงินได้ นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
  • ทั้ง 2 ประเภทเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

 

6. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม

          ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง

 

7. เงินซื้อกองทุนรวมระยะยาว LTF

          นำมาลดหย่อนได้ 15 % ของรายได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

 

8.การออมเงิน

  • เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นำมาลดหย่อนได้ 15 % ของรายได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  • เงินซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF นำมาลดหย่อนได้ 15 % ของรายได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  • เงินสะสมกองทุนการอออมแห่งชาติ นำลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  • ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ นำมาลดหย่อนได้ 15 % ของรายได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
  • ทั้ง 4 ประเภทเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท      

 

9. ดอกเบี้ยซื้อบ้าน

  • ดอกเบี้ยที่จ่ายให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินเพื่อสร้าวที่อยู่อาศัย นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท โครงการพิเศษอื่นๆ

 

10. บริจาค

  • เงินบริจาคทั่วไป หักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง แต่ไม่เกิน10 % ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
  • เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาและการกีฬา หักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10 % ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

 

เมื่อนำเงินได้พึงประเมิน มาหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน จะเหลือเป็นเงินได้สุทธิเพื่อนำมาคำนวณภาษีตามอัตราภาษีต่อไปครับ

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?