ประกันสังคมมาตรา 40 รู้ก่อนเลือก

ประกันสังคมมาตรา 40

18 เมษายน 2563

ประกันสังคมมาตรา 40 เพิ่มช่องทางการสมัครที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส ขยายความสะดวกให้ผู้ประกันตน

ข่าวดีสำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ นอกจากจะมีการปรับปรุงสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันสังคมมาตรา 40 ไปเมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานประกันสังคมยังเพิ่มช่องทางใหม่ในการสมัครและชำระเงินที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสด้วย ผู้สนใจสมัครดูการคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ก่อนตัดสินใจได้เลยครับ

 

ผู้ประกันตนมาตรา 40 คุ้มครองอะไรบ้าง

ประกันสังคมมาตรา 40  เป็นประกันสังคมที่ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ ผู้คนประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกร พ่อค้าแม่ค้า พนักงานอิสระ  

 
คุณสมบัติของผู้ประกันสังคม มาตรา 40

  • อายุ 15 – 60 ปี ณ วันสมัคร
  • ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39
  • เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ
  • ไม่เป็นข้าราชการ หรือคนที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม
  • ผู้พิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม

 

3 ทางเลือกของผู้ประกันตนมาตรา 40

ทางเลือกที่ 1   จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน

ทางเลือกที่ 2  จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน

ทางเลือกที่ 3  จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

 

ทางเลือกที่ 1   จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  3  กรณี  คือ

1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 

2.กรณีทุพพลภาพ

3.กรณีตาย

 

กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  :  จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย และใช้สิทธิการรักษาใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ/บัตรทอง (สปสช.) หรือสิทธิเดิมที่มีอยู่ จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้

         1.นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท

         2.ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท

         3.ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์ไม่มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัว หรือให้หยุดพัก รักษาตัวไม่เกิน 2 วัน (มีใบรับรองแพทย์มาแสดง) ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี

         4.ภายใน 1 ปี ได้รับสิทธิตาม (1) และ (2)  รวมกันไม่เกิน 30 วันต่อปี

 

กรณีทุพพลภาพ : จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 – 1,000 บาท ต่อเดือนขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ เป็นระยะเวลา 15 ปี  
  • เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพได้รับเงินค่าทำศพ  20,000 บาท

 

กรณีตาย :  จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 ใน 12 เดือนก่อนเดือนที่ตาย ยกเว้นกรณีตายเพราะอุบัติเหตุหาก

จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 6 ใน 12 เดือน แต่มีการจ่ายเงินสมทบ 1 ใน 6 เดือนก่อนเดือนที่ตาย

  • ได้รับเงินค่าทำศพจำนวน 20,000 บาท 
  • ได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย 3,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 เดือนก่อนเดือนที่ตาย 

 

ทางเลือกที่ 2  จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  4  กรณีคือ 

1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

2.กรณีทุพพลภาพ

3.กรณีตาย

4.กรณีชราภาพ

กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย : จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย และใช้สิทธิการรักษาใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ/บัตรทอง (สปสช.) หรือสิทธิเดิมที่มีอยู่  จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้

          1.นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท

         2.ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท

         3.ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์ไม่มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัว หรือ ให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน (มีใบรับรองแพทย์มาแสดง) ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี

          4.ภายใน 1 ปี ได้รับสิทธิตาม (1) และ (2)  รวมกันไม่เกิน 30 วันต่อปี

 

กรณีทุพพลภาพ : จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 – 1,000 บาท ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ เป็นระยะเวลา 15 ปี 
  • เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท

 

กรณีตาย :  จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 ใน 12 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย ยกเว้น กรณีตายเพราะอุบัติเหตุหากจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 6 ใน 12 เดือน แต่มีการจ่ายเงินสมทบ 1 ใน 6 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย

  • ได้รับเงินค่าทำศพจำนวน 20,000 บาท 
  • ได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย 3,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย 

 

กรณีชราภาพ : อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

  • ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปี

 

ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  5  กรณีคือ     

1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 

2.กรณีทุพพลภาพ

3.กรณีตาย

4.กรณีชราภาพ

5.กรณีสงเคราะห์บุตร

 

กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย : จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

สิทธิการรักษาใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ/บัตรทอง (สปสช.) หรือสิทธิเดิมที่มีอยู่

   (1) นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 300 บาท

   (2)  ไม่ได้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 200 บาท *ภายใน 1 ปี รับสิทธิตาม (1) และ (2) รวมกันไม่เกิน 90 วัน

 

กรณีทุพพลภาพ จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 – 1,000 บาท ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ เป็นระยะเวลาตลอดชีวิต 
  • เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินค่าทำศพ  40,000 บาท

 

กรณีตาย : จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 ใน 12 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย ยกเว้น กรณีตายเพราะอุบัติเหตุหากจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 6 ใน 12 เดือน แต่มีการจ่ายเงินสมทบ 1 ใน 6 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย

  • ได้รับเงินค่าทำศพ 40,000 บาท

 

กรณีชราภาพ :  อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

  • ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปี
  • ได้รับเงินเพิ่มอีก 10,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป

กรณีสงเคราะห์บุตร จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 24 ใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน

  • ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน คนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน บุตรอายุตั้งแต่แรกเกิดแต่ไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์

 

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 1506

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?