บริจาคแล้ว…ภาษีลดได้จริงหรือ? ไม่ใช่แค่เจตนาดี แต่การบริจาคของนิติบุคคลยังสามารถนำมาหักรายจ่ายทางภาษีได้ หากรู้วิธีคำนวณที่ถูกต้อง บทความนี้จะพาไปดูว่า การซื้อสิ่งของ บริจาคทรัพย์สิน สินค้าคงเหลือ หรือแม้แต่หุ้น ต้องคิดมูลค่าอย่างไรให้ไม่ตกหล่น และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร
ภาษีกับการบริจาค คำนวณมูลค่าอย่างไร?
กรณีซื้อสิ่งของมาเพื่อบริจาค
นิติบุคคลซื้อสิ่งของมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐานแสดงจำนวนและต้นทุน เช่น ใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงิน โดยให้ถือมูลค่าตามหลักฐานเป็นรายจ่ายที่บริจาค โดยมูลค่าดังกล่าวต้องไม่สูงเกินราคาตลาดที่ซื้อขายกันโดยทั่วไป
กรณีนำสินค้าในกิจการไปบริจาค
ซื้อทรัพย์สินมาใช้ในกิจการ และได้บันทึกเป็นทรัพย์สินของกิจการไว้แล้ว ต่อมาต้องการบริจาคทรัพย์สินนั้นเพื่อการกุศล ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคำนวณหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เป็นมูลค่าของรายจ่าย
ที่บริจาค
กรณีนำสินค้าผลิตหรือซื้อเพื่อขายไปบริจาค
ผู้ประกอบการที่ต้องการจะนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายไปบริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าที่มีเอกสารหลักฐานสามารถพิสูจน์ได้เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค โดยมูลค่าดังกล่าวต้องไม่เกินราคาสินค้าคงเหลือตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริจาคหุ้น
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถบริจาคหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้แก่มูลนิธิหรือสมาคมที่เป็นสถานสาธารณกุศลตามประกาศกระทรวงการคลังได้ โดยไม่ต้องนำมูลค่าหุ้นมาคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษี และสามารถนำราคาทุนของหุ้น ณ วันที่ได้มา ไปหักเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะได้ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ
อ่านเพิ่มการคำนวณมูลค่าในกรณีอื่นๆ ใน เอกสารภาษีอากร ฉบับเดือนเมษายน 2568
พร้อมบทความที่น่าสนใจ โดยนักเขียนผู้เชี่ยวชาญกว่า 20 ท่าน
อ่านบทความอื่นๆ
บริจาคแบบไหน ได้ลดหย่อนภาษี
การจัดการบัญชีและภาษีหลังภัยพิบัติ
ขายของออนไลน์ ควรยื่นภาษีให้ถูกต้อง